Page 450 - kpi18886
P. 450
442
2) การซื้อเสียงโดยผ่านหัวคะแนน ซึ่งเป็น
คนกลางมีผลประโยชน์จากการช่วยหาเสียงและซื้อเสียงจะไม่ยึดติดกับผู้สมัคร
คนใดคนหนึ่งขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่ผู้สมัครเสนอมา เกิดขึ้นในทุกระดับของ
การเลือกตั้ง เป็นการซื้อเสียงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยวางระบบหัวคะแนน
คนหนึ่งคุมคะแนนเสียง 3- 5 บ้าน จากเดิมที่คุมทั้งหมู่บ้านหรือ 2-3 หมู่บ้าน
และมีผลตอบแทนเพิ่มแก่หัวคะแนนถ้าคะแนนเสียง “เข้าเป้า” เพื่อป้องกันการ
“อมเงินซื้อเสียง”
ทั้งนี้การซื้อเสียงด้วยเงินมีวิธีการโดยคำนึงถึง
ช่วงเวลาเป็นสำคัญและมีกลวิธีแตกต่างกัน ได้แก่
1) การซื้อเจาะ ซื้อเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มี
แนวโน้มจะลงคะแนนให้เพื่อให้เกิดการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
2) การซื้อแบบปูพรม โดยแจกเงินผู้มีสิทธิ
รับเลือกตั้งทุกคน จะเกิดในการเลือกตั้งที่มีเขตใหญ่ทั้งจังหวัด หากในความเป็น
จริงไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากการแจกแบบปูพรมจะใช้หัวคะแนน โดยได้
รับคำสั่งจากผู้สมัครและหัวคะแนนระดับบนลงมาเป็นทอดๆ แต่หัวคะแนน
ที่ปฏิบัติต้องวิเคราะห์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพราะในกลุ่มชนชั้นกลางกระทำได้เพียง
โน้มน้าวด้วยการขอคะแนนเสียง
3) การซื้อย้ำ โดยทั่วไปหัวคะแนนจะแจกเงิน
ก่อนเลือกตั้ง 1-2 วัน และเพื่อให้แน่ใจว่าผู้มีสิทธิไม่เปลี่ยนใจ จะแจกเงินในเช้า
ของวันเลือกตั้งอีกครั้ง เช่นแจกไปแล้วเสียงละ 500 บาท อาจซื้อย้ำอีก 500 บาท
ในบางพื้นที่ผู้สมัครจะให้หัวคะแนนคอยตรวจสอบที่หน่วยเลือกตั้ง หากเมื่อ
ใกล้หมดเวลาแล้วผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังไม่มา จะให้โทรศัพท์ตาม ส่งคนไปรับมา และ
บางครั้งต้องเสนอเงินซื้อเสียงให้อีกเป็นการซื้อย้ำ
4) การซื้อทับ เกิดจากการทราบว่าคู่แข่งขัน
แจกเงินในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่า จึงมีการซื้อทับซึ่งส่วนใหญ่ ผู้สมัครจะใช้
วิธีการนี้ในตอนเช้าของวันเลือกตั้ง โดยแจกไปแล้ว 1,000 บาท คู่แข่งแจก
1,500 บาท ผู้สมัครรายนี้จะแจกทับไปอีก 500-1,000 บาท เป็นการเกทับคู่แข่งขัน
บทความที่ผานการพิจารณา