Page 451 - kpi18886
P. 451
443
5) การซื้อเหมา ผู้สมัครจะสำรวจครัวเรือนและ
ให้หัวคะแนนไปเจรจาซื้อเสียง เช่นครัวเรือนหนึ่งมีคน 5 คน เสนอซื้อคนละ
2,000 บาท หากรับปากให้ทั้งครัวเรือนจะให้ 12,000 บาท
1.1.2 การซื้อเสียงทางอ้อม จะเป็นการซื้อโดยผ่านวิธีการหลาย
รูปแบบ ดังนี้
1.1.2.1 การซื้อเสียงโดยให้อามิสสินจ้างและคำมั่นสัญญา
ต่างๆ หลายรูปแบบ ได้แก่
1) การเลี้ยงสุราอาหาร โดยทั่วไปหัวคะแนน
จะเป็นตัวกลางจัดการให้โดยมีทั้งผู้สมัครเสนอให้และผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเรียกร้อง
จากผู้สมัคร ในปัจจุบันผู้สมัครจะระวังตัวมากเนื่องจากเกรงกลัวการฟ้องร้อง
อย่างไรก็ตามในช่วงหาเสียงเลือกตั้งระหว่าง 60 วันก่อนวันเลือกตั้ง ผู้สมัครรับ
เลือกตั้ง ตั้งแต่ระดับนายก อบต. ขึ้นไปต่างกล่าวว่าต้องใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงสุราเป็น
จำนวนมาก
2) การซื้อเสียงโดยการก่อสร้างสิ่ง
สาธารณประโยชน์ สาธารณูปโภคสำคัญ เช่น การถมพื้นถนน การสร้างทาง
สร้างแหล่งน้ำ การนำน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายโดยติดต่อผ่านหัวคะแนน
พบได้จากการเลือกตั้ง ส.อบต. ในยุคแรกๆ ระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง
3) การซื้อเสียงโดยการจ่ายเงินบริจาคให้แก่วัด
หรือมัสยิด ศาสนสถานสำคัญ และผู้นำทางศาสนาประกาศขอบคุณ เพื่อ
สนับสนุนหาเสียงให้แก่ผู้สมัคร เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งที่ผู้สมัครรู้ว่าฝ่ายตรงข้าม
ไม่ร้องเรียนอย่างแน่นอนเนื่องจากจะเป็นการบั่นทอนคะแนนนิยมของตนได้
4) การซื้อเสียงโดยการแจกสิ่งของ ได้แก่
ของอุปโภคบริโภค พบว่า มีการแจกผ้าห่ม น้ำอัดลม เหล้า เนื้อหมู ข้าวสาร
สุ่มไก่ โดยแจกระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง และผู้สมัครที่มีทุนสูง จะแจกต่อเนื่องมา
ตั้งแต่ก่อนหมดวาระในตำแหน่งที่ตนสมัคร โดยแจกแบบปูพรมทุกหลังคาเรือน
บทความที่ผานการพิจารณา