Page 448 - kpi18886
P. 448
440
Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informant) เช่น นักการเมือง หัวคะแนน
เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ชาวบ้าน และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม
เช่น การสังเกตการณ์การเลือกตั้งในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นการสังเกตการณ์ในอดีต
และที่เกิดขึ้นหากมีการเลือกตั้ง และมีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้การประมวล
ผลข้อมูล ตีความข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และพรรณนาวิเคราะห์โดยแสดง
ให้เห็นลำดับเหตุการณ์ วิเคราะห์เชิงสาเหตุและผลที่ตามมา
ขอบเขตของการวิจัย
ผู้วิจัยแบ่งขอบเขตการวิจัย โดยแบ่งขอบเขตเนื้อหาและขอบเขตเวลาใน
การศึกษาดังนี้
1. ขอบเขตเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาหลักคือการทุจริตในการเลือกตั้งในระดับ
ท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี โดยจะศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการ ซึ่งอาจประกอบ
ด้วยกระบวนการ เครือข่ายของการดำเนินการซึ่งอยู่ในการแข่งขันทางการเมือง
ในท้องถิ่น ทั้งนี้เนื้อหาที่จะศึกษาจะแยกระดับท้องถิ่นดังนี้ 1) ระดับองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด 2) ระดับเทศบาล และ 3) ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล
โดยศึกษาถึงวิธีการ การดำเนินการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต
เลือกตั้งทั้งในระดับบุคคลและในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพชรบุรีว่าผลที่ได้รับเป็น
อย่างไร ได้ผลหรือไม่ได้ผลอย่างไร
2. ขอบเขตเวลา จะศึกษาโดยอยู่ภายใต้บริบทของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540 ซึ่งท้องถิ่นทุกระดับ
ต้องมีที่มาของผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง และเน้น
เนื้อหาหลักภายหลัง พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดในพระราชบัญญัติท้องถิ่นให้ผู้บริหาร
ท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขัน ในการเลือกตั้งสูงขึ้น
ผลการวิจัย
จากการศึกษามีข้อค้นพบในงานวิจัยดังนี้
บทความที่ผานการพิจารณา