Page 95 - kpi18886
P. 95
87
คำว่าส่วนร่วมประชาธิปไตยก็คือการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ระบอบประชาธิปไตยหากปราศจากการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ย่อมเป็นไปไม่ได้ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่รู้จักกันมาก
ที่สุดนั้นก็คือการเลือกตั้ง
ประเทศไทยนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ.
2475 เมื่อต้องการอธิบายเรื่องระบบการปกครองใหม่ก็คือต้องมี
สภา ในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว
พ.ศ. 2475 จึงแสดงเจตนาไว้ชัดในมาตรา 14 ว่าการเลือกตั้ง คือ
พลเมืองไทยถ้าบรรลุนิติภาวะแล้วจะมีสิทธิในการเลือกตั้ง
มาตรา 14 นี้มีความสำคัญและคือหัวใจของประชาธิปไตย เพราะ
กำลังบอกว่าพลเมืองไทยมีความเท่าเทียมกันในสิทธิทางการเมือง
ความเท่าเทียมกันในการมีสิทธิในการเลือกตั้ง
ประชาธิปไตยในทางปฏิบัติต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง
และเมื่อการเลือกตั้งคือการมีส่วนร่วมทางการเมือง การมี
ส่วนร่วมทางการเมืองจึงอยู่ในวิถีประชาธิปไตย แต่ตลอด 85 ปี
ของประชาธิปไตย คนไทยล้มลุกคลุกคลาน วนเวียนอยู่กับ
การเลือกตั้ง จึงต้องดูว่าปัญหาในการเลือกตั้งเป็นอย่างไร และ
ความจริงที่ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองแล้วมีเพียงการเลือกตั้ง
เท่านั้น แต่การเข้าร่วมรณรงค์หาเสียงซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมทาง
การเมือง การเข้าร่วมพรรคการเมืองซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมทาง
การเมือง กลับเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับความสนใจ อาจเป็นเพราะ
การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนทำให้ได้มาซึ่ง “ผู้แทนราษฎร”
คำที่ยังคงเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ ทั้งที่ People คือ ประชาชน แต่
คำว่าราษฎรยังอยู่เป็น “ผู้แทนราษฎร”
การมีส่วนร่วมทางการเมืองอีกอันหนึ่งที่รัฐไม่ได้จัดให้แต่
ประชาชนจัดกันเอง นั่นคือการประท้วง การประท้วงทางการเมือง
ประท้วงเล็กประท้วงน้อย การมีส่วนร่วมประชาธิปไตยเลือกตั้งก็ดี
การประท้วงทางการเมืองก็ดี ทั้ง 2 อย่างนี้จะทำยังไงให้ยั่งยืนและ
ไม่ก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองในประเทศไทย