Page 90 - kpi18886
P. 90
82
ของเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ พบว่าพื้นฐานในเรื่องการเมืองมาก่อนวิกฤต
เศรษฐกิจ นอกจากนี้การไม่พอใจเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ความรู้สึกต่อต้านโลกา
ภิวัตน์ที่มาจากผู้คนจำนวนมากมายที่ไม่ได้ประโยชน์จากขบวนการโลกาภิวัตน์
เพราะฉะนั้นก็ตั้งคำถามกับประชาธิปไตยแบบตัวแทนและได้มีการผลักดันเรื่อง
การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยรวมแล้วการเติบโตของเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์
กับการเมืองโดยรวมและกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ผมคิดว่าตรงนี้มีนัยสำคัญ
สำหรับประเทศไทย
ประเด็นสุดท้ายเรื่องของความท้าทายที่สำคัญคือการสร้างนโยบายที่มี
เสถียรภาพในสภาพเศรษฐกิจที่กำลังผันผวน
นโยบายที่มีเสถียรภาพต้องเข้มแข็งและไม่แข็งทื่อ ต้องสามารถดำรงอยู่ได้
ในระยะยาว ขณะเดียวกันก็เปิดรับผลประโยชน์หรือความสนใจที่แตกต่างกัน
การเติบโตจะต้องครบถ้วน ไม่มีการกีดกันและเท่าเทียมกันระหว่างประชาชน
ทุกคน โครงการ 4.0 และ EEC ของไทยจะต้องมีความเข้าใจว่าในขณะที่
สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปการทำธุรกิจแบบเดิมจำเจใช้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้น
จะต้องเน้นเสริมสร้างเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการแข่งขัน สำหรับวันนี้และ
สำหรับในอนาคตนั้นหมายความว่าจะต้องพูดถึงนอกจากการลงทุนในเรื่องต่างๆ
แล้ว ยังต้องสร้างสถาบันที่จะมารองรับและนำทาง และต้องการความร่วมมือจาก
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ทั้งภายในประเทศและ
ต่างประเทศ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ยุทธศาสตร์จึงต้องมี
การปรับในเรื่องของการเกลี่ยผลประโยชน์และจะต้องทำให้ทุกคนสามารถที่จะเป็น
ผู้ชนะได้เพื่อการเจริญเติบโตระยะยาว เช่น เรื่องของทักษะที่สูงขึ้น ความปลอดภัย
ในการทำงาน ความแตกต่างในเรื่องของลำดับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจ
ก็คงจะปรากฏมาในช่วงของการเปลี่ยนผ่านระบบการเมือง ซึ่งจำเป็นที่จะต้อง
ยอมรับและปรับตามสิ่งที่เกิดขึ้น ด้านเศรษฐกิจต้องมีความริเริ่มที่ชัดเจนที่จะ
สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ซึ่งมีจำนวนถึง 80% และจ้างงาน 80%
ของคนงานในประเทศ นอกจากนั้นในภาวะเสี่ยงจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ต้องปรับ
เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและในเอเชียเอง
นี่คือวิธีการที่จะต้องดูเรื่องความเข้าใจต่อลูกค้าผมคิดว่าสามารถที่จะสร้างโอกาส
ให้กับบริษัทเล็กๆ ออกไปดำเนินกิจการในต่างประเทศและสร้างงานในกลุ่มต่างๆ
ปาฐกถานำ