Page 14 - kpi20863
P. 14
ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้น ในพ.ศ. 2465 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง สภาการ
2
คลัง ขึ้น “ส่าหรับพิจารณาปัญหาทั้งปวงในเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชทรัพย์ส่าหรับแผ่นดิน” นอกจากนี้ยังมี
พระราชด่าริให้จัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ (Siamese Kingdom Exhibition) เพื่อ “เปิดหูเปิดตาให้ได้บังเกิด
ความคิดใหม่ในการประดิษฐ์สรรพหัตถกรรมขึ้นโดยนานัปการ ซึ่งสรุปรวมก็คือส่วน 1 แห่งความเจริญด่าเนิน
3
น่าส่าหรับชาติบ้านเมืองมารดรเรานี้” ก่าหนดจัดที่สวนลุมพินีในพ.ศ. 2468 ทว่าเลิกจัดไปเมื่อรัชกาลที่ 6
เสด็จสวรรคต
ในช่วงต้นรัชกาลที่ 7 พระประมุขทรงตระหนักดีถึงปัญหาการเงินการคลังของประเทศในรัชกาลก่อน
จึงทรงเร่งแก้ไขปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการคลังของสยามโดยด่วน ทั้งการตัดทอนงบประมาณ
แผ่นดิน โดยเฉพาะงบประมาณของราชส่านัก การรักษาสมดุลของงบประมาณแผ่นดิน การควบคุมค่าเงินบาท
4
ให้มีเสถียรภาพ และการจ่ากัดการก่อหนี้ต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อมุ่งรักษาอ่านาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจและ
การเมืองการปกครอง พระบรมราโชบายด้านเศรษฐกิจนี้ส่งผลให้งบประมาณแผ่นดินของสยามเกินดุลมาโดย
ตลอดรัชกาล (ยกเว้นปีพ.ศ. 2474 ซึ่งงบประมาณขาดดุล 3.98 ล้านบาท) มียอดเงินคงคลังที่ทวีขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง และไม่ก่อหนี้สาธารณะขนาดใหญ่ให้เป็นภาระแก่รัชกาลต่อมา
ปี รายรับ (ล้านบาท) รายจ่าย (ล้าน เกิน/ขาดดุล (ล้าน เงินคงคลัง (ล้าน
บาท) บาท) บาท)
2468 92.71 94.65 -1.94 54.20
2469 100.59 100.55 +0.04 57.68
2470 117.44 112.13 +5.31 79.66
2471 106.96 101.70 +5.26 82.60
2472 108.12 98.62 +9.50 75.40
2473 96.32 91.66 +4.66 67.55
2474 78.95 82.90 -3.95 39.70
2475 79.65 70.23 +9.42 54.43
2476 83.73 73.67 +10.09 66.34
ตารางที่ 2.1 รายรับ รายจ่าย และเงินคงคลังในรัชกาลที่ 7. ที่มา: ปรับปรุงจาก พอพันธ์ อุยยานนท์,
เศรษฐกิจไทยสมัยรัชกาลที่ 7 รักษาเสถียรภาพ ปูพื้นฐานการพัฒนา (กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ,
2558), 60-62.
เหตุการณ์ส่าคัญทางเศรษฐกิจในช่วงรัชสมัยเหตุการณ์หนึ่ง คือสภาวะเศรษฐกิจตกต่่า (The Great
Depression of 1929) อันเป็นสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่าให้ตลาด
7