Page 71 - kpi21078
P. 71
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ไปพร้อม ๆ กัน และเป็นการส่งเสริม
ให้เกิดความเป็นพลเมืองในพื้นที่ผ่านการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้
ประชาชนตระหนักถึงความเดือดร้อนของตนเองและส่วนรวมมากกว่าปล่อย
ผ่านไปให้เป็นวิธีการแก้ไข (ที่อาจผิดวิธี) ของภาครัฐ...
หากจะแก้ปัญหา...ต้องมีข้อมูล
ข้อมูลเป็น “หัวใจ” สำคัญของการขับเคลื่อนงาน การจัดการข้อมูล
ที่เริ่มต้นจากระดับชุมชน ระดับหน่วยงานท้องถิ่น/ท้องที่ สู่ข้อมูลระดับ
อำเภอ และระดับจังหวัด ผ่านวิธีการสำรวจข้อมูล ผ่านการสัมภาษณ์ผ่าน
การทำแบบสอบถาม ทั้งแบบปฐมภูมิ และการปักหมุดเพื่อทำ Mapping
ด้วยมุ่งหวังที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปีให้ได้ การสำรวจและศึกษาพื้นที่
ตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบ 2 พื้นที่ ที่มีความแตกต่างกันทั้งสภาพแวดล้อม
ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิต ที่เรียกว่าชุมชนชนบท และชุมชนเมือง
จึงเกิดขึ้น หากจะถามว่า “ทำไม ต้อง 2 พื้นที่ นี้ เพราะชุมชนเมืองดูเหมือน
จะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ ถ้าหากเป็นชุมชนชนบทต่างหาก
ที่น้ำท่วมจริง ๆ”
นั้นเป็นเพราะว่า “พื้นที่เขตชนบทเป็นพื้นที่ท้ายน้ำของลุ่มน้ำหนองหาร
และอยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำก่ำคือรอยต่อระหว่างน้ำหนองหาร น้ำก่ำ
แล้วก็จะไหลลงสู่หนองหารที่จังหวัดนครพนม” ต่อไป
แต่ “พื้นที่เขตเมือง ถึงจะไม่ถูกน้ำท่วม ณ ตอนนี้ แต่เมื่อสถานการณ์
เปลี่ยนล่ะ ฝนตกหนักมากขึ้น น้ำในเขตชนบทไม่ลดลง อาจจะขยายพื้นที่
กว้างสู่เขตเมืองได้ อีกทั้งการเกิดปัญหาน้ำท่วมยังส่งผลทั้งด้านเศรษฐกิจ
เป็นอย่างมาก เพราะว่าเขตเมืองเป็นศูนย์รวมของการบริการทุกด้าน” เป็น
ผลกระทบที่ต่อเนื่องถึงจะมองว่าเพียงแค่ 1 พื้นที่ท่วม แต่ผลกระทบคือ
หลายพื้นที่อ่วม
0 สถาบันพระปกเกล้า