Page 75 - kpi21078
P. 75
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
ลำห้วยในทุก ๆ ปี จัดทำกติกาชุมชนร่วมกันใน การเปิด – ปิด ประตูน้ำ
สุรัสวดี เพื่อระบายน้ำออกช่วงฤดูฝน และกักเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้ง ให้พื้นที่
เกิดความเสียหายร่วมกันน้อยที่สุดหากจำเป็นต้องเกิดน้ำท่วม...
จากบทเรียน สู่ การต่อยอด ผ่านการถอดบทเรียน
“ได้รับทุกข์จากภัยมา ได้รับสุขจากความช่วยเหลือ แจกข้าวของ
ให้เงินสนับสนุน นั่นเป็นเพียงการสุขใจแค่ชั่วคราว หากแต่ความทุกข์
ยังคงอยู่ ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากเช่นนี้ขึ้นอีกแน่นอน...”
เมื่อพื้นที่ยังเป็นพื้นที่น้ำท่วมอยู่ เพียงแต่มีระบบการจัดการ
การช่วยเหลือที่ดีขึ้น และพื้นที่ก็ยังต้องประสบภัยพิบัติอยู่ การต่อยอดเพื่อ
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสจึงเกิดขึ้น ผ่านการถอดบทเรียนที่ผ่านมา เพื่อ
พัฒนา ปรับปรุง เพื่อใช้ประโยชน์จากวิกฤตน้ำหลาก “การสำรวจพื้นที่
สายน้ำ” จึงเกิดขึ้น เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสายน้ำและที่ดินหลัง
น้ำท่วม เพราะการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงทาง
สายน้ำที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในบริเวณรอบ ๆ สายน้ำ โดย
ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดสกลนคร
เป็นผู้นำร่องการดำเนินโครงการต่อยอดผ่านการบูรณาการลงในแผน
กิจกรรมของธรรมนูญตำบลสุขภาวะ และนี้เป็นสิ่งพิเศษเหนือกว่าที่ผ่านมา
คือ “การดึงภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมได้สำเร็จรัฐให้ความสำคัญ”
โดย ดร.ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง ในฐานะประธานศูนย์พัฒนา
การเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดสกลนคร ได้กล่าว
ไว้ว่า…
“(เราต้องเกาให้ถูกที่คัน) การสร้างความร่วมมือและความเข้าใจ
เป็นเรื่องสำคัญมากซึ่งมันเป็นบทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ ที่จะต้องไปปูพรม
สร้างความร่วมมือ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและ
สถาบันพระปกเกล้า