Page 74 - kpi21078
P. 74
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
น้ำที่ทะลักมาจากอีกด้านของทางน้ำหลักจะไม่สามารถไหลลงสายน้ำได้
ทำให้เกิดน้ำท่วมในหมู่บ้านและท่วมขังเป็นเวลานาน...
(เทคนิคเพียงเล็กน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่...) การทำงาน
ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพราะความต้องการของชุมชนทำให้
พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะพื้นที่ได้รับผลกระทบจริง เกิดความ
เดือดร้อนจริงชุมชนก็จะยิ่งต้องการหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหานี้ให้ได้เร็ว
ที่สุด “ลงมือเร็วเท่าไหร่ ผลตอบรับมักเกิดขึ้นเร็วเท่านั้น” แม้ชีวิตต้อง
ทำมาหากิน หาเช้ากินค่ำ แต่ความปลอดภัยในทรัพย์สินและความเป็นอยู่
ก็สำคัญ ชาวบ้านจึงเข้ามาเรียนรู้ไปพร้อมกันอย่างจริงจังในช่วงวัน เสาร์-
อาทิตย์ สืบค้น ทดลองจนนำไปสู่การผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ
ที่เสนอต่อเทศบาลตำบล เพื่อระบุเป็นวาระจังหวัดในการแก้ไขปัญหาและ
เตรียมความพร้อมในการรับมือต่อภัยพิบัติต่อไปได้
การดำเนินการที่ผ่านมานั้น หากจะประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้อง
คืนข้อมูลสู่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน นี้คือคติ
ประจำใจในการทำงานร่วมกันของศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดสกลนคร จึงทำให้ประชาชนทราบถึงปัญหา
และผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่มากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทราบถึง
วิกฤตในครั้งนี้ และตระหนักถึงวิธีการจัดการปัญหาที่เกิดทุกปีให้เด็ดขาด
ให้ได้...
การใช้เทคนิคการดึงคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดข้อเสนอ
จากเวทีประชาคมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันในระยะยาว คือ
การมีแอพพลิเคชั่นของอำเภอในการเตือนภัยและแจ้งเตือนข่าวมูล
ข่าวสารให้รวดเร็วและทันเวลา มีจุดวัดน้ำ บริเวณแก้มลิงของชุมชน
โดยผู้ใหญ่บ้านของแต่ละหมู่บ้านเป็นผู้ส่งข้อมูลให้กรมชลประทานในทุก ๆ
ปี กรมทรัพยากรน้ำควรเข้ามาดูแลด้านแหล่งน้ำบาดาล ทำการขุดลอก
สถาบันพระปกเกล้า