Page 76 - kpi21078
P. 76
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
ภาคประชาชนในพื้นที่ อันนี้เราต้องใช้เวลาและต้องใช้ความละมุนละม่อม
เราต้องเป็นสื่อกลางในการประสานงานทั้งภาครัฐและประชาชน อันเป็น
ลักษณะงานที่เราต้องจับมือคู่กันทั้งระหว่างภาคประชาชนและหน่วยงานรัฐ
แม้การดำเนินงานจะยาวนานแต่เพราะเราเชื่อว่า …ยาวนานแต่ยั่งยืน…”
“จะไม่มีใครทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อรับปัญหาปลายทางนี้ไว้คนเดียว”
จากการดำเนินการด้วยพลังเล็ก ๆ สู่การขยายเครือข่าย เพื่อน
ร่วมอุดมการณ์... การดำเนินการผลักดันนโยบายการจัดการอุทกภัย
เข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร ขับเคลื่อนโดยศูนย์พัฒนาการเมือง
ภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้า จังหวัดสกลนคร เป็นการขับเคลื่อนผ่าน
กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอุทกภัยจังหวัด
สกลนคร ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีเครือข่ายร่วมดำเนินการมากมาย ได้แก่
1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2. โรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านโพน
3. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพน
4. เทศบาลเชียงสือ
5. ท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
6. อำเภอโพนนาแก้ว
7. กรมพัฒนาที่ดินผ่านเทศบาลตำบลและอำเภอโพนนาแก้ว
จุดเปลี่ยนความร่วมมือสำคัญในการมีส่วนร่วมที่ขาดไม่ได้
คือ ชุมชนอำเภอเมือง ชุมชนอำเภอโพนนาแก้ว และชุมชนอำเภอ
อากาศอำนวย ซึ่งเป็นพื้นที่ตัวอย่างนำร่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
อุทกภัยน้ำท่วมจังหวัดสกลนคร
พื้นที่ทดลอง นำไปสู่แผนระยะยาว 3 ปี ทุกพื้นที่ต้องดีขึ้น!!!...
คำปฏิญาณที่ต้องทำให้ได้ จึงเป็นแผนที่จะเริ่มดำเนินการจากปี
พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564 และขยายผลการดำเนินโครงการผ่านสื่อ
สถาบันพระปกเกล้า