Page 73 - kpi21078
P. 73
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
มีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านโดยวิธี “ตีฆ้อง ร้องบอก” จึงถูกนำกลับมาใช้
ประโยชน์อีกครั้งโดยจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่บ้านผู้นำชุมชน ที่จะทำการ
ตี เคาะ ส่งสัญญาณให้ชาวบ้านรู้เมื่อน้ำมา แต่เมื่อมีการเดินสำรวจแล้ว
จะไม่มีแผนที่ได้อย่างไร
แผนที่เดินดิน ที่ผ่านการเดินสำรวจ ได้ถูกจัดทำขึ้นจากการเขียน
ด้วยมือลงบนแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ของชาวบ้าน ถูกปักหมุดจุดสำคัญ
ของสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงแหล่งภัยพิบัติ แหล่งอพยพ แหล่ง
ปลอดภัย และแหล่งที่ต้องขอความช่วยเหลือ 1 แผ่นใหญ่ ใช้ประโยชน์ทั้ง
หมู่บ้าน
จากการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลทำให้รู้ปัญหา สาเหตุ... พื้นที่
จุดเสี่ยง หมู่บ้านที่เป็นที่ราบลุ่มราบต่ำน้ำท่วมถึงประตูน้ำที่สร้างเพื่อ
ระบายน้ำยังสร้างไม่เสร็จเนื่องจากหมดงบประมาณ (จากความหวังดีของรัฐ
กลายเป็นประสงค์ร้ายในทันที) เพียงเพื่อหวังยกระดับปริมาณน้ำใน
ลำน้ำก่ำให้มีพื้นที่กักเก็บน้ำมากขึ้นเท่านั้น แต่ใครจะรู้ว่าเมื่อถึงช่วงฤดูฝน
น้ำป่าจากทางทิศเหนือไหลลงมารวมกันไม่สามารถระบายออกไปทางไหนดี
เพราะติดคันกั้นน้ำที่ยังสร้างไม่เสร็จของทางรัฐ จึงเกิดปัญหามวลน้ำไหล
ย้อนกลับเข้ามาในลำห้วย และเกิดเป็นการเอ่อล้นในหมู่บ้านแทน ซึ่งมี
ระดับน้ำที่สูงถึง 120-130 เมตร เลยทีเดียว อีกทั้งสะพานที่เป็นจุดระบาย
น้ำหลัก มีผักตบชวา วัชพืชขวางลำน้ำ ทำให้น้ำระบายผ่านสะพานช้า
การจัดการเรื่องการเตือนภัยจากภาครัฐ จากทางราชการซึ่งส่งมาเป็น
หนังสือแจ้งเตือนเกิดความล่าช้าและใช้เวลานานในการกระจายข้อมูล
ข่าวสารสู่ประชาชน ขาดการตั้งศูนย์อำนวยการภัยพิบัติ ในแต่ละหมู่บ้านที่
เป็นพื้นที่เสี่ยง ขาดการประชุมอบรมให้ความรู้ทั้งก่อนและหลังการเกิด
น้ำท่วมของหน่วย ปภ. (ป้องกันและบรรเทาภัยจังหวัด) การสร้างคันกั้น
น้ำที่สูงมาก ปรากฎผลสองด้าน คือ คันกั้นน้ำที่สูงมากในช่วงฤดูแล้ง
ชาวบ้านไม่สามารถสูบน้ำมาทำการเกษตรได้ และเมื่อก่อนวิกฤตน้ำท่วม
สถาบันพระปกเกล้า