Page 21 - kpi21595
P. 21

ผลจากการสำรวจวรรณกรรมและการจัดกลุ่มคุณลักษณะข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนานิยามเชิง

               ปฏิบัติการพร้อมด้วยตัวชี้วัดสำหรับวัดความเป็นพลเมืองสำหรับการวิจัยฉบับนี้ได้ดังนี้
                       1.พลเมืองที่มีความตระหนักรู้ (concerned citizen) ในที่นี้หมายถึง ผู้ที่มีความสนใจ มีความรู้

               มีความตระหนักในศักยภาพของตนเอง และตระหนักรู้ในความสำคัญของหลักการประชาธิปไตยและประโยชน์

               ส่วนรวม (common good)  ประกอบด้วยตัวชี้วัด 4 ระดับ ประกอบด้วย
                       1.1พลเมืองที่มีความสนใจความเป็นไปของบ้านเมือง (interested citizen) หมายถึงพลเมืองที่ไม่

               นิ่งดูดายต่อความเป็นไปของชุมชน สังคม ประเทศชาติ มีการติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใน
               ชุมชน สังคมของตนอยู่เสมอ

                       1.2พลเมืองที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการสำคัญและมีทักษะที่จำเป็นของการปกครองใน

               ระบอบประชาธิปไตย (civic and political efficacy) ประกอบด้วย รู้ว่าพลเมืองคือใครสำคัญอย่างไร รู้ถึง
               ความสำคัญของงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอ การยอมรับความหลากหลาย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองใน

               รูปแบบต่างตลอดจนรู้ข้อกฎหมายที่จำเป็น
                       1.3พลเมืองที่รับรู้ความสามารถของตนเองในฐานะสมาชิกของสังคมการเมือง (civic and

               political efficacy) เช่น ตระหนักว่าตนเองมีศักยภาพมากพอในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ

               การเมืองได้
                       1.4พลเมืองที่ตระหนักต่อสังคม  ( social awareness) ในที่นี้คือ ตระหนักถึงความสำคัญของ

               หลักการประชาธิปไตยที่จะมีต่อสังคม อาทิ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน มีจิต

               อาสา-จิตสาธารณะ กฎระเบียบ ความเสมอภาค ความเท่าเทียม หลักสันติวิธี อดทน หลักเหตุผล ความเป็น
               ชาติ ประโยชน์ส่วนรวม หลักความพอเพียง

                       2.พลเมืองที่มีความกระตือรือร้น (active citizen) ในที่นี้หมายถึง ผู้ที่ “กระทำการ” หรือมี
               “พฤติกรรมการแสดงออก” ซึ่งความเป็นพลเมือง ในที่นี้ผู้วิจัยแบ่งเป็น ความกระตือรือร้นทางด้านสังคม (Civic

               Participation) และความกระตือรือร้นทางด้านการเมือง (Political Participation) โดยแต่ละด้านจะมีมิติ

               ของการปฏิบัติโดยลำพัง (self-action) และมิติของการมีปฏิบัติการร่วมกับผู้อื่น (collective action) ซึ่งมี
               รายละเอียดดังต่อไปนี้

                       2.1พลเมืองที่มีความกระตือรือร้น – โดยมีปฏิบัติการด้วยตนเองโดยลำพัง (self-action) แบ่ง
               ออกเป็น

                       2.1.1การดำเนินการด้วยตนเองเพื่อประโยชน์ทางด้านสังคม ( Civic Self-action ) เช่น

                       ก). การมีส่วนร่วมในบทสนทนาประเด็นด้านสังคม
                       ข). การปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์

                       ค). การแสดงออกซึ่งความเคารพต่อกฎหมาย ต่อตนเอง ต่อความหลากหลายและความคิดเห็นที่

                       แตกต่าง
                       ง). การแสดงออกโดยสันติวิธี แก้ไขปัญหาโดยยึดฐานข้อมูล และใช้สติปัญญาไม่ใช้กำลัง

                       จ). การแสดงออกโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เช่น ดำเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การ


                                                                                                       13
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26