Page 18 - kpi21595
P. 18

(2557) ของถวิลวดี บุรีกุลและคณะ ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.2553-2561

               สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
               ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

               สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น

                       จากการสำรวจผู้วิจัยพบว่ามีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองบางประการที่นักวิชาการต่างเล็งเห็นว่าเป็น
               ประเด็นสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นและตั้งมั่นอยู่ได้ จากข้อมูลพบว่า

               มีสาระสำคัญอย่างน้อย 14 ประเด็นที่มีการกล่าวถึงซ้ำในความถี่ที่แตกต่างกัน โดยในที่นี้พบว่าคุณลักษณะ
               ความเป็นพลเมืองที่ได้รับการกล่าวซ้ำมากที่สุดคือ เรื่องของ “ความรับผิดชอบ” ต่อสังคมตนเองและผู้อื่น ซึ่งมี

               การกล่าวซ้ำในงานวรรณกรรม 20 ชิ้น ซึ่งคุณลักษณะนี้ยังประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยในเรื่องของการรู้

               บทบาทหน้าที่ของตนเอง การไม่ละทิ้งหน้าที่และการมีวินัย สำหรับคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ได้รับการ
               กล่าวถึงรองลงมาคือ เรื่องการเคารพในสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และการคำนึงถึงสิทธิทางสังคม (social

               rights) ซึ่งพูดซ้ำกันใน 14 ชิ้นงาน ลำดับที่ 3 เป็นเรื่องของการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ
               ข้อบังคับ กติกาของสังคมที่เป็นธรรม โดยมีหิริโอตัปปะหรือการละอายในการในทำผิด ซึ่งได้รับการกล่าวซ้ำใน

               13 ชิ้นงาน สำหรับคุณลักษณะต่อไปคือการยึดมั่นในหลักความเสมอภาค เท่าเทียม ซึ่งได้รับการกล่าวซ้ำใน 12

               ชิ้นงาน ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยเรื่องการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ
               การยึดมั่นในความยุติธรรม ความถูกต้องชอบธรรม (Justice oriented) มีความอดทนอดกลั้นและยึดหลักสันติ

               วิธีไมตรีสัมพันธ์ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาด้วย

                       ส่วนคุณลักษณะของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ได้รับการกล่าวซ้ำใน 10 ชิ้นงาน คือเรื่องการมี
               ความภักดีต่อชุมชนและประเทศชาติ ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยเรื่องการมีอัตลักษณ์ร่วม (collective

               identity) มีสำนึกรักบ้านเกิด รักครอบครัวและยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ต่อมาเป็นคุณลักษณะที่
               ได้รับการกล่าวซ้ำใน 8 ชิ้นงาน คือเรื่องการมีส่วนร่วมในการเมืองทุกระดับ ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย

               หลายเรื่อง คือ การยึดหลักสิทธิทางการเมือง (political rights) การเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองในระดับ

               ท้องถิ่นระดับชาติและนานาชาติด้วยความเต็มใจ การดื้อแพ่งทางการเมือง (Civil disobedience ) เรียกร้อง
               สิทธิการเป็นพลเมือง กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น มีจิตอาสา และมีจิตสาธารณะ ตามมาด้วย

               คุณลักษณะต่อไปที่ได้รับการกล่าวซ้ำในวรรณกรรม 7 ชิ้น คือเรื่องความมีเหตุผล ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะ
               ย่อยเรื่องการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) การรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี คิดวิเคราะห์อย่างเป็น

               ระบบ เช่นรู้จักแบ่งแยกระหว่างบุคคลออกจากการทำหน้าที่

                       ต่อมาเป็นคุณลักษณ์ที่ได้รับการกล่าวซ้ำในวรรณกรรม 5 ชิ้นงานคือการเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต
               ส่วนคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ได้รับการกล่าวถึงซ้ำในงานจำนวน 4 ชิ้น ประกอบด้วยสองคุณลักษณะคือ

               การเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ยึดประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะย่อยในการเป็นผู้ที่มีความ

               เสียสละใจกว้าง มีมนุษยสัมพันธ์ และเต็มใจเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น เพื่อรักษา
               สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ส่วนคุณลักษณะอีกประการหนึ่งที่มีการกล่าวซ้ำในวรรณกรรม 4 ชิ้นคือการเป็นผู้มีความรู้

               ความเข้าใจในประชาธิปไตย ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา และใส่ใจในประเด็นทางการเมืองและสังคม


                                                                                                       10
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23