Page 17 - kpi21595
P. 17

บทที่ 2


                                          แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                              


                       ด้วยวัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นจากการ

               ดำเนินโครงการปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมืองแบบบูรณาการในจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนั้น ในบทนี้ผู้วิจัยจึง
               มุ่งสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมืองในมิติของนิยามและกระบวนการสร้างความเป็นพลเมือง

               ในระบอบประชาธิปไตยว่ามีคุณสมบัติใดบ้างที่ได้รับการกล่าวถึง โดยจะทำการสำรวจวรรณกรรมอื่นๆที่

               เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการแสดงออกซึ่งความเป็นพลเมืองด้วย เพื่อประเมินว่ากระบวนการเสริมสร้างความรู้และ
               ความเป็นพลเมืองผ่านการอบรมและการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมในพื้นที่ที่ผ่านมาของสถาบันพระปกเกล้านั้น

               สามารถสร้างให้เกิดความเป็นพลเมืองที่ตระหนักรู้และมีความกระตือรือร้นในทางปฏิบัติให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้
               หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขใด โดยเพื่อให้เห็นภาพของเงื่อนไขปัจจัยที่อาจส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการเป็นพลเมือง

               ของกลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยจึงทำการสำรวจแนวคิดเรื่องกระบวนการขัดเกลาทางการเมือง (political

               socialization) และแนวคิดเรื่องแรงจูงใจทางการเมือง (political motivation) ด้วย เพื่อนำมาร่วมกันอธิบาย
               ผ่านกรอบคิดเรื่องระบบหน้าที่ทางการเมือง (political system approach) เพื่อให้เห็นภาพว่าภายใต้ปัจจัย

               นำเข้า (input) และกระบวนการสร้างความเป็นพลเมือง (process) ของสถาบันพระปกเกล้า โดยสำนัก

               ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ปฏิบัติการเหล่านั้นจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่อย่างไรบ้าง ภายใต้
               บริบทภายในบุคคล ค่านิยมและความเชื่อส่วนบุคคล และบริบทภายนอกอันได้แก่สภาพแวดล้อมทางด้าน

               สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ภายใต้ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และสภาพแวดล้อมดังกล่าว สำนักส่งเสริม
               การเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จะสามารถไปสู่เป้าหมายสูงสุดในการส่งเสริมความเป็นพลเมือง

               ตระหนักรู้ (concerned citizen) และ พลเมืองกระตือรือร้น (active citizen) ได้ดังที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่

                       ดังนั้น ในบทนี้ผู้วิจัยจะกล่าวถึงกรอบคิดข้างต้นโดยสังเขป เพื่อชี้ให้เห็นว่าคุณลักษณะความเป็น
               พลเมืองตลอดจนกระบวนการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของรายงานฉบับนี้พัฒนาขึ้นมาอย่างไร มีตัวชี้วัด

               ใดบ้างที่บ่งบอกถึงความสำเร็จในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองทั้งสองประเภท (ตระหนักรู้และกระตือรือร้น)
               สุดท้าย ผู้วิจัยจะชี้ให้เห็นกรอบการวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและได้ทำการสำรวจไว้ข้างต้น

               เฉพาะในส่วนที่จะนำมาปรับใช้ในรายงานฉบับนี้ต่อไปตามลำดับ


               แนวคิดเรื่องพลเมือง คือ ใคร สร้างอย่างไร

                       ผู้วิจัยเริ่มต้นจากการสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบ

               ประชาธิปไตย (democratic citizenship) ที่ได้รับการกล่าวถึงในงานวิจัยงานวิชาการทั้งสิ้น 22 ชิ้น
               ซึ่งประกอบด้วยงานภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อาทิ งานของ Joel Westheimer and Joseph Kahne

               - What kind of citizen? The politics of educating of democracy (2004) งานเรื่อง  Civitas : A

               framework of civic education งานเรื่องพลเมืองไทย: การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

                                                                                                        9
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22