Page 19 - kpi21595
P. 19

สำหรับคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ได้รับการกล่าวซ้ำในวรรณกรรมจำนวน 2 ชิ้น มีจำนวน  5

               คุณลักษณะ ประกอบด้วย การเป็นผู้มีน้ำใจประชาธิปไตย เห็นความสำคัญของการพึ่งพาอาศัยกัน มีความเอื้อ
               อาทรต่อกัน การเป็นผู้นำที่ดี การยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ การตระหนักในความสามารถทางการเมืองของ

               ตนเอง (Political Efficacy) เชื่อมั่นในศักยภาพในการเป็นพลเมืองของตนเองในการมีศักยภาพทางการเมือง

               และการเป็นผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เช่น สามารถถกเถียงหาข้อสรุปร่วมกันกับผู้อื่นได้ สำหรับ
               คุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ได้รับการกล่าวถึงซ้ำในความถี่ที่แตกต่างกันเหล่านี้ ผู้วิจัยได้จัดทำไว้เป็นตาราง

               แสดงผลการสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ในภาคผนวก ก
                       จากคุณลักษณะที่ผู้วิจัยสกัดออกมาได้ 14 ประการข้างต้นจะเห็นได้ว่าในแต่ละคุณลักษณะนั้นจะมี

               การซ้อนทับกันหลายมิติ เช่น มิติที่เป็นนามธรรมอย่างเรื่องของหลักการและค่านิยมกับมิติที่เป็นรูปธรรมอย่าง

               การแสดงออกการลงมือปฏิบัติต่างๆ นอกจากนั้นยังมีการซ้อนทับกันอยู่ระหว่างมิติทางด้านการเมืองและมิติ
               ทางด้านสังคม มิติของความเป็นส่วนตัวและความเป็นส่วนร่วม ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงได้พยายามจัดกลุ่ม

               คุณลักษณะดังกล่าวในส่วนที่เป็นมิติเดียวกันไว้ด้วยกัน ซึ่งพบว่าสามารถจัดกลุ่มคุณลักษณะความเป็นพลเมือง
               ข้างต้นออกมาเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มคุณลักษณะที่มีลักษณะเชิงนามธรรม เป็นเรื่องของความรู้ ความ

               ตระหนักหรือสำนึกที่อยู่ภายในจิตใจ และกลุ่มคุณลักษณะที่มีลักษณะเชิงรูปธรรม เป็นเรื่องของการแสดงออก

               ต่างๆผ่านทางพฤติปฏิบัติหรือการพูดจาเพื่อแสดงออกสำนึกความเป็นพลเมืองเชิงนามธรรมดังกล่าวซึ่งพบว่ามี
               ได้ทั้งการแสดงออกทางสังคมและการเมืองรวมไปถึงสามารถแสดงออกได้โดยลำพังหรือร่วมกับผู้อื่นเพื่อมี

               พฤติกรรมดังกล่าวก็ได้เช่นกัน

                       ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงแบ่งพลเมืองออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ พลเมืองตระหนักรู้ (concerned
               citizen) และ พลเมืองกระตือรือร้น (active citizen) โดย พลเมืองตระหนักรู้ (concerned citizen) ในที่นี้

               ผู้วิจัยนิยามให้ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของ การมีความสนใจ มีความรู้ทางสังคมการเมือง ตลอดจนมีความ
               ตระหนักในศักยภาพของตนเอง และตระหนักรู้ในความสำคัญของหลักการประชาธิปไตยและประโยชน์

               ส่วนรวม (common good) ในที่นี้พลเมืองตระหนักรู้จะเน้นเรื่องความคิดทัศนคติของผู้นั้นเป็นหลัก ส่วน

               พลเมืองกระตือรือร้น (active citizen) นั้น ผู้วิจัยมุ่งเน้นมิติที่การแสดงออกเป็นหลักกล่าวคือผู้นั้นต้องมี
               พฤติกรรมบางอย่างที่แสดงให้เห็นความเป็นพลเมือง โดยการแสดงออกซึ่งความเป็นพลเมืองนั้นอาจกระทำโดย

               ลำพังคนเดียวหรือร่วมกับผู้อื่นก็ได้ และอาจเป็นมิติทางด้านสังคม ชุมชน หรือเป็นมิติทางด้านการเมืองก็ได้
               เช่นกัน โดยพฤติกรรมต่างๆต้องเป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยและเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

               (common good) สำหรับความเป็นพลเมืองทั้ง 14 คุณลักษณะที่ผู้วิจัยได้จัดไว้ภายใต้ความเป็นพลเมืองทั้ง 2

               ประเภทนั้น สามารถแสดงได้ดังตารางที่ 1










                                                                                                       11
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24