Page 5 - 21736_Fulltext
P. 5

ค

                                                          บทสรุปผู้บริหาร



                              งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อสำรวจความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางใน

                       สถานศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
                       โดยการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มี

                       ประสบการณ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการไกล่เกลี่ยคนกลาง ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา
                       2) อาจารย์ที่รับผิดชอบ 3) ผู้นำนักศึกษา 4) ผู้ไกล่เกลี่ย (คนกลาง) 5) นักเรียน/นักศึกษาที่เป็นคู่กรณี

                       (ปกปิดชื่อคู่กรณี) และ 6) ผู้ที่ผลักดันให้เกิดหน่วยงานด้านสันติวิธีขึ้นในสถานศึกษา จาก

                       สถาบันการศึกษา 4 แห่ง ประกอบด้วย 1) ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจ
                       บัณฑิตย์  2) โรงเรียนพนมสารคาม พนมอดุลวิทยา จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) โรงเรียนสตรีนนทบุรี และ 4)

                       โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ แห่งละ 10 คน รวมเป็น 40 คน ซึ่งสถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

                       คือ 1) กลุ่มที่มีประสบการณ์ในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางมายาวนานหลายปี และ 2) กลุ่มที่ดำเนินการ
                       ไกล่เกลี่ยมาไม่มากนัก


                              การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation)
                       และการสัมภาษณ์ทั้งแบบมีระบบและไม่มีระบบ (Structured and Unstructured Interviews)

                       ในช่วงแรกเป็นการพัฒนากรอบแนวคิดปัจจัยแห่งความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางจากแนวคิด
                       หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นได้สัมภาษณ์และปรึกษาหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการไกล่เกลี่ยคน

                       กลาง หลังจากนั้น นักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจบริบทและสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของ

                       สถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง และสัมภาษณ์แบบไม่มีระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
                       ต่อมาจึงได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีระบบ โดยมีแนวคำถามที่เป็นคำถามเดียวกัน

                       มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ในการจัดกลุ่มและวิเคราะห์ เครื่องมือ
                       ได้แก่ แนวคำถาม (Interview Guidelines) จะเน้นที่การประเมินความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยใน

                       สถานศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนา

                       งานด้านการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content
                       Analysis) โดยเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกัน โดยมี

                       ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย จำนวน 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2556 - วันที่ 30 กันยายน

                       พ.ศ. 2558

                              ผลการวิจัยแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ สำรวจความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางใน

                       สถานศึกษาและปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10