Page 6 - 21736_Fulltext
P. 6
ง
1. สำรวจความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
ความขัดแย้งบางเรื่องสามารถไกล่เกลี่ยได้ในสถานศึกษา บางเรื่องไม่ควรนำมาไกล่เกลี่ยใน
สถานศึกษา ประสบการณ์ในต่างประเทศก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่เรื่องที่สอดคล้องกัน
เช่น ไม่ควรไกล่เกลี่ยในเรื่องยาเสพติด เรื่องที่เป็นความขัดแย้งรุนแรงถึงขนาดมีการเสียชีวิต
ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษาพิจารณาได้จากหลายแง่มุม ดังนี้
1.1 ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษาพิจารณาได้จากหลายแง่มุม
ดังนี้
1.1.1 กรณีความขัดแย้งน้อยลง
เน้นที่ความขัดแย้งมีจำนวนเรื่องลดลง ผ่านกระบวนการปลูกฝังความรู้และคุณธรรมใน
รูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในชั่วโมงเรียนหรือในช่วงเช้าที่นักเรียนเข้าแถวหน้าเสาธง จะมีอาจารย์พูด
ให้นักเรียนได้เห็นถึงความสำคัญของการมีคุณธรรมในการดำรงชีวิต
1.1.2 มีกระบวนการ
กล่าวคือ ได้พูดคุยกันมากขึ้น มีการนำปัญหามาคุยกัน พิจารณาสาเหตุ หาวิธีการแก้ไข
มีกระบวนการยอมรับเหตุผลหรือข้อเสนอได้โดยไม่ใช้การบังคับ ผู้ไกล่เกลี่ยสามารถพูดให้คู่กรณีได้ใช้
ความคิดมากขึ้น
1.1.3 ผลลัพธ์
ความพึงพอใจของคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย เข้าใจกัน ไม่ผิดใจกัน ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับข้อตกลงได้
ยอมรับผลของการไกล่เกลี่ยได้เกิดความสามัคคี มีความเป็นมิตรกันและเกิดความสมานฉันท์กัน
1.1.4 การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ไกล่เกลี่ย
เกิดประโยชน์กับนักเรียนในการได้รับผิดชอบงานเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ไกล่
เกลี่ย กล้าคิด กล้าแสดงออกและมีความรับผิดชอบมากขึ้น
1.1.5 ความยั่งยืนในการทำงาน
งานด้านการไกล่เกลี่ยกับความยั่งยืนในการทำงานจะเกิดขึ้นได้จากการส่งต่องานจากรุ่น
พี่สู่รุ่นน้อง
1.2 ประเมินความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา
ผู้ให้ข้อมูลจากทั้ง 4 สถานศึกษา ประเมินหน่วยงานตนเองในด้านความสำเร็จในการไกล่เกลี่ย
ในสถานศึกษาเห็นว่า การไกล่เกลี่ยสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ถ้าให้เป็นเปอร์เซ็นต์สำเร็จมากกว่า 80 %