Page 7 - 21736_Fulltext
P. 7
จ
พิจารณาได้จากจำนวนเรื่องที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จ การเกิดเหตุทะเลาะวิวาทลดลง และการได้รับเชิญจาก
ศาลให้ไปสาธิตการไกล่เกลี่ย เป็นการฝึกให้ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยมีความเป็นผู้นำ เสริมสร้างวินัยให้
นักเรียน มีการอบรมรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความรู้กับผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย เป็นต้นแบบให้กับ
สถานศึกษาอื่นในการศึกษาดูงาน เกิดความภาคภูมิใจแก่นักเรียนและโรงเรียน สำหรับในการไกล่
เกลี่ยกรณีที่มีผู้ปกครองมาเกี่ยวข้องด้วยก็จะพยายามพูดคุยกับผู้ปกครองก่อน เพราะผู้ปกครองจะ
ช่วยพูดกับลูกหลานด้วย ประเมินจาก บุคลากรมีความตั้งใจในการทำงาน ไม่ค่อยมีปัญหาเกิดขึ้นซ้ำ
สามารถเปิดใจคุยกันได้และอยู่ร่วมกันได้ หลังการ ไกล่เกลี่ย คู่กรณีมีสีหน้ายิ้มแย้ม สามารถจับมือ
ยิ้มให้กันได้ มีแววตาเป็นมิตร มีความสุข เกิดมิตรภาพสามารถอยู่ร่วมกันได้ กลับมาเป็นเพื่อนกัน ไม่
เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นอีก เจอหน้าคุยกันได้ บางรายสนิทกันมากกว่าเดิม ในสถานศึกษาบางแห่ง
ปัจจุบันมีการประเมินจากการทำแบบสอบถามเชิงคุณภาพ มีการประเมินจากการสังเกตวิธีพูดและวิธี
คิด
2. ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษามีหลายปัจจัย
ประกอบด้วย
2.1 คนกลาง
คนกลางควรมีองค์ความรู้ ทักษะและคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้
2.1.1 ควรมีความเป็นกลาง รับฟังทั้ง 2 ฝ่ายอย่างเป็นกลาง ยุติธรรม ไม่อคติ
2.1.2 ไม่ตัดสินว่าใครผิดขณะอยู่ในกระบวนการไกล่เกลี่ย
2.1.3 ผู้ไกล่เกลี่ยทีมเดียวกันควรมีแนวทางในการไกล่เกลี่ยใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ คน
กลางควรได้มีการมาพูดคุยกันหลังจากไกล่เกลี่ยเสร็จแล้ว
2.1.4 สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ สภาพจิตใจของผู้ไกล่เกลี่ยต้องนิ่ง มีสมาธิ มี
ความอดทน ใจเย็น หนักแน่น
2.1.5 ควรมีองค์ความรู้ และทักษะด้านการไกล่เกลี่ย ผ่านการอบรมดังกล่าว
2.1.6 มีทักษะในการสื่อสาร ด้านการพูด การสรุป และการตั้งคำถามที่ดี
2.1.7 มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา มีน้ำใจ เก็บความลับของทั้ง 2 ฝ่ายได้
2.1.8 เป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ดี มองโลกในแง่บวก บุคลิกดี ยิ้มแย้ม
2.1.9 มีประสบการณ์ในการใช้ชีวิต นักศึกษาให้ความเคารพ และไว้ใจ