Page 161 - 22373_Fulltext
P. 161
ในการลงไปท้าเรื่องอาชีพนั้น หากเป็นผู้ชายเจ้าหน้าที่จะโน้มน้าวในเรื่องของครอบครัว เช่น “มี
แฟนหรือยัง ถ้ามีแฟนแล้ววันหนึ่ง มีลูก อยากให้ลูกเป็นอะไร กินขนมดี ๆ ไหม” เพื่อกระตุ้นให้เด็กเห็น
ความส้าคัญของอาชีพ หรือหากเป็นผู้หญิง เช่น มีกรณีหนึ่งที่มีลูกแล้วหย่าร้าง (หย่าร้างในวัยเด็ก เพราะ
แต่งงานเร็ว) แรงจูงใจจึงอยู่ที่ลูก เจ้าหน้าที่จะพยายามสร้างแรงจูงใจ อาทิ มีสามีภรรยาคู่หนึ่งกลับจาก
ฟิลิปปินส์ มีปัญหาเรื่องการพูด แต่สามารถใช้ภาษายาวี พูดกับตายายได้ ทั้งสองคนมีแรงจูงใจในการหารายได้
ส้าหรับครอบครัว เจ้าหน้าที่จะน้าเอาเรื่องอาชีพมาเป็นแรงจูงใจ เช่น หากเป็นเจ้าของกิจการจะสามารถหา
รายได้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ สามารถท้าได้ ท้าให้เด็กอยากเรียน อยากเป็นเจ้าของกิจการ
อย่างไรก็ตามปัญหาที่เทศบาลพบในขณะนี้ ได้แก่ ข้อมูลจากเด็ก เทศบาลพยายามลงไปเก็บข้อมูล
เชิงลึกเพื่อที่จะมาพัฒนา โดยมีเป้าหมายเพื่อท้าให้เด็กมีรายได้ ด้วยบางคนบิดามารดาของเด็กไม่ได้จบปริญญา
ตรียังสามารถส่งบุตรหลานเรียนได้ ท้าให้เชื่อมั่นว่าการเรียนนอกหลักสูตรจะท้าให้เด็กด้อยโอกาสให้ข้อมูล
ความต้องการที่แท้จริง นอกจากนี้เทศบาลเห็นว่า อาจจะมีเด็กด้อยโอกาสที่ก้าลังมีปัญหามากกว่าที่มีข้อมูล
ในขณะที่วิธีการค้นหาของเทศบาลยังไม่สามารถไปถึงตัวเด็กได้
3) ปัญหาเด็กยากจน ไม่มีเงิน ท้าให้ไม่สามารถมาเรียนได้ แม้จะได้รับการสนับสนุนค่าสมุด
ค่าอาหาร แต่อาจไม่สามารถเดินทางมาได้ ด้วยมีปัญหาค่อนข้างหลากหลาย รวมถึงปัญหาเด็กประพฤติตัว
ไม่เหมาะสม ปัญหาคุณแม่วัยใสที่แม้จะมีปัญหาเรื่องการมีบุตรก่อนวัยอันสมควร แต่พอมีบุตรท้าให้เด็กมีความ
ตั้งใจในการประกอบอาชีพมากขึ้น เพื่อหารายได้มาเลี้ยงลูก เทศบาลก็มีส่วนเข้าไปช่วย บางรายติดตามตั้งแต่
เริ่มเป็นแฟนกันจนแยกทางกับสามี และได้เข้าร่วมโครงการกับทางเทศบาล
4) นอกจากเด็กด้อยโอกาสที่อยู่นอกระบบแล้ว ยังมีเด็กด้อยโอกาสที่อยู่ในระบบ โดยในทุก
โรงเรียนจะพบว่าเด็กส่วนใหญ่จะอยู่กับตายายซึ่งเป็นผู้สูงอายุ โดยพ่อแม่เด็กไปท้างานที่ประเทศมาเลเซีย
แล้วไม่ได้กลับมาหรือพ่อแม่หย่าร้างกัน แล้วฝากเด็กให้อยู่กับตายาย เด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างจะมีปัญหา อาทิ
เด็กจะขาดเรียนบ่อย ไม่ตั้งใจเรียน เกเร
5) ปัญหาเด็กยากจน อาทิ โรงเรียนเทศบาล 2 พบปัญหาในส่วนของเด็กในระบบ ซึ่งทางโรงเรียน
มีการด้าเนินการหลัก ๆ คือ การสนับสนุนทุนการศึกษา โดยมีทุนจากเงินปัจจัยเด็กนักเรียนยากจน ได้รับการ
อุดหนุนจากกรมส่งเสริมการปกครอง ทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยในปีที่ผ่านมาโรงเรียนได้เสนอ
ขอรับทุน “ได้มาพอสมควร” และทุนทั่วไป จากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคมา ซึ่งเทศบาลไม่แน่ใจว่า ทุนดังกล่าวจะ การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
สามารถลดความเหลื่อมล้้าได้หรือไม่ เพราะเมื่อเทศบาลมอบทุนไปแล้ว เทศบาลไม่รู้ว่าผู้ปกครองจะน้าเงิน
ดังกล่าวไปด้าเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนอย่างไร โดยเฉพาะทุนเสมอภาคตั้งเงื่อนไขเพียงเฉพาะให้
เด็กมาโรงเรียนทุกวันและมีน้้าหนักกับส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์
กรณีที่พ่อแม่ยากจนและไม่ดูแลเด็ก ทิ้งเด็กให้อยู่กับผู้สูงอายุ ท้าให้ขาดความอบอุ่นมีจ้านวนมาก
ถูกปล่อยปละละเลย เด็กกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มใหญ่ เป็นปัญหาชัดเจน เด็กต้องออกกลางคันเพราะมีฐานะยากจน
“ไม่มีเงินติดกระเป๋ามากินขนม ไม่ได้มาโรงเรียน” ค่าใช้จ่ายที่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐไม่เพียงพอ หาก
ผู้ปกครองหาเพิ่มเติมได้ก็ไม่มีปัญหา แต่มีบางกลุ่มที่ยากจนมาก หารายได้ไม่ได้ เด็กบางคน พ่อแม่ให้เด็ก
ออกไปท้างาน ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ท้างานด้วย มองแค่ว่าได้กิน ได้ใช้ในแต่ละวัน เด็กกลุ่มนี้ถือว่าเป็นปัญหาที่
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า 137