Page 108 - b29259_Fulltext
P. 108

ตัดสินใจ รับรอง หรือกำากับฝ่ายบริหารซึ่งก็คือรัฐบาลที่ทำาหน้าที่บริหาร

        ประเทศ ตลอดจนดำาเนินการตามที่ได้ผูกพันสัญญากับประชาชนระหว่าง
        ที่หาเสียงเลือกตั้ง


               ทั้งนี้ ในโลกปัจจุบันได้ออกแบบโครงสร้างของสถาบันการเมือง
        เหล่านี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยดังกล่าว ซึ่งจะขยายความ
        ได้ดังต่อไปนี้


               2.1 การเลือกตั้ง ในฐานะการโอนถ่ายอ�านาจอย่างสันติ

               หากได้พิจารณาในแง่วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของโลก

        ระบอบการปกครองในอดีตที่เป็นรัฐราชสมบัตินั้นไม่มีความแน่นอน
        ทั้งในแง่อายุขัยของผู้ปกครอง การเปลี่ยนผ่านรัชกาล ตลอดจนการตั้ง

        รัชทายาท ตลอดจนการสืบทอดราชสมบัตินั้นขาดความแน่นอน และก่อให้
        เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองหลายครั้ง ถึงแม้ว่าอังกฤษจะมีการเปลี่ยนแปลง
        แนวทางการสืบราชสมบัติก็ตาม หรือในกรณีของจักรพรรดิญี่ปุ่นก็ได้

        แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนในการสืบราชสมบัติและขีดจำากัดของ
        การสืบราชสมบัติ ซึ่งนำาไปสู่การไร้เสถียรภาพของระบอบการเมืองและ

        ประเทศชาติในหลายกรณี ดังนั้น นอกเหนือจากวิวัฒนาการทางการเมือง
        ในแต่ละบริบทของประเทศต่าง ๆ ระบอบการเมืองสมัยใหม่จึงแสวงหา
        ระบอบการเมืองที่มีเสถียรภาพกว่า และสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน

        ได้ไปพร้อม ๆ กัน การเลือกตั้งจึงเป็นช่องทางการโอนถ่ายอำานาจจาก
        ประชาชนไปสู่ตัวแทนของพวกเขา ซึ่งมีทัศนะในทางทฤษฎีต่อการเลือกตั้ง

                          181
        ในสองมุมมองหลัก ๆ   ดังนี้

        181   Andrew Heywood, Politics, pp. 205

     108
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113