Page 109 - b29259_Fulltext
P. 109

ด้านแรกเป็นการมองจากเบื้องล่างขึ้นไป โดยเห็นว่าการเลือกตั้ง

        เป็นกลไกที่จะเป็นช่องทางให้นักการเมืองถูกตรวจสอบ ตั้งคำาถามระหว่าง
        การรณรงค์หาเสียง ประชาชนสามารถตั้งคำาถามที่เกี่ยวกับแนวนโยบาย
        ต่าง ๆ ที่พวกเขาจะดำาเนินการ ซึ่งในทางกลับกันนักการเมืองก็ถูกบังคับ

        ให้แสดงจุดยืนของตนเองในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ

               ด้านที่สอง เป็นการมองจากเบื้องบนลงมา และเห็นว่าการเลือกตั้ง

        เป็นวิธีการที่บรรดาชนชั้นนำา (elites) ทางการเมืองและในรัฐบาลสามารถ
        ควบคุมประชาชนของพวกเขา ทำาให้ประชาชนถูกครอบงำา ประชาชน

        อ่อนกำาลังลงและสามารถปกครองได้ในที่สุด

               อย่างไรก็ตาม หลักการสำาคัญของระบอบประชาธิปไตย คือ การมอบ
        อำานาจของประชาชนให้มีตัวแทน (representative) เพื่อเข้าไปทำาหน้าที่

        แทนประชาชน การเลือกตั้งเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด ต้นทุนตำ่าที่สุด
        ที่จะสร้างสัมพันธภาพระหว่างประชาชนกับผู้ปกครอง มีความชอบธรรม
        ในการใช้อำานาจ เพราะต้องผ่านการเลือกตั้งซึ่งเท่ากับการตรวจสอบ

        โดยประชาชนเสียก่อนจะเข้าไปใช้อำานาจ และเป็นการโอนถ่ายอำานาจ
        อย่างสันติ ไม่ใช่การโอนอำานาจโดยใช้กำาลังบังคับ หรือใช้ความรุนแรงให้

        เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่การกำาหนดให้เลือกตั้งตัวแทนของ
        ประชาชนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ก็เป็นหลักประกันมิให้เกิดผู้เผด็จการ
        หรือมิให้เกิดระบอบการเมืองที่ผูกขาดในอำานาจโดยไม่ถูกตรวจสอบ

               หน้าที่ของการเลือกตั้งที่สำาคัญจึงมี 7 ประการ ดังนี้ 182



        182    Andrew Heywood, Politics, pp. 205-206.




                                                                      109
                                 หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ  109
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114