Page 19 - b29259_Fulltext
P. 19
หรือใกล้ชิดในการปกครองเช่นนี้จึงถูกมองว่าเป็นลักษณะการปกครองโดย
ประชาชนเองอันนำาไปสู่การเรียกขานว่า “ระบอบประชาธิปไตยทางตรง”
4
(Direct Democracy)
อย่างไรก็ดี เมื่อครั้นมาถึงในยุคสมัยโรมันได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนา
รูปแบบของรัฐจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐ อันส่งผลต่อระบอบ
การปกครองจากราชาธิปไตยไปสู่การสถาปนาระบอบประชาธิปไตย ซึ่ง
ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการปกครองในสมัยกรีก หากแต่มีความผิดแผก
แตกต่างอย่างมีนัยสำาคัญ กล่าวคือ รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในยุคนี้ให้สิทธิแก่ประชาชนชาวโรมันได้เลือกผู้แทนของตนเองเพื่อเข้าไป
นั่งในสภาทำาหน้าที่ในการลงคะแนนเลือกผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง 5
6
ทำาหน้าที่ตัดสินใจทางการเมือง ฯลฯ ลักษณะการเมืองการปกครองเช่นนี้
ต่อมาถูกเรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยผ่านระบบผู้แทน” (Representative
7
Democracy) อันเป็นรากฐานของการพัฒนาจนกลายมาเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยผ่านระบบผู้แทนในปัจจุบันที่เราคุ้นเคยกันดี
4 เนื่องจากเป็นรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นจากกรุงเอเธนส์ นักวิชาการบางท่าน
จึงเรียกการปกครองลักษณะนี้ว่า “ระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์คลาสสิก” หรือ
“Classical Athenian Democracy”
5 ในสมัยนั้นเป็นการเลือกตั้งบุคคลเข้ามาดำารงตำาแหน่ง “กงสุล” ซึ่งประกอบ
ไปด้วย 2 ท่าน เพื่อเข้ามาบริหารปกครองโรมันโดยมีวาระการดำารงแหน่ง 1 ปี
6 จริงอยู่หากแม้นข้าไปพิจารณาจะพบว่า การให้สิทธิแก่ประชาชนชาวโรมันในการ
เลือกตัวแทนของตนเองนั้นจะถูกจำากัดเฉพาะกลุ่มคนบางกลุ่ม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า
นี่คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทน
7 บางท่านเรียกเรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยทางอ้อม” หรือ “Indirect
Democracy”
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 19 19