Page 24 - b29259_Fulltext
P. 24
2. อ�านาจอธิปไตยกับองค์กรทางการเมือง
SOVEREIGNTY
& POLITICAL INSTITUTIONS
หากจะอธิบายขยายความถึงพันธกิจของรัฐผ่านมิติทางด้านกฎหมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่าน “กฎหมายสูงสุดของประเทศ” อย่างรัฐธรรมนูญ
แล้ว จะพบว่าหน้าที่หลักของรัฐจะประกอบไปด้วยหน้าที่ในการตราตัวบท
กฎหมายประการหนึ่ง หน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินประการหนึ่ง
21
และหน้าที่ในการตัดสินข้อพิพาทอรรถคดีต่าง ๆ อีกประการหนึ่ง คำาถาม
ที่ต้องตอบ ณ ที่นี้ก็คือ แล้วผู้ใดเล่าคือผู้รับผิดชอบในการหน้าที่ดังกล่าว
ของรัฐ? คำาตอบก็คือ “องค์กรทางการเมือง” หรือที่บางท่านรู้จักมักคุ้นกัน
ในชื่อที่ว่า “สถาบันการเมือง” (Political Institutions)
องค์กรทางการเมือง หรือสถาบันทางการเมืองถูกสถาปนาขึ้น
โดยผลผลิตจากรัฐธรรมนูญเพื่อทำาหน้าที่ในการปกครองและพิทักษ์รักษา
สิทธิเสรีภาพของประชาชนผ่านมิติทางด้านต่าง ๆ ของอำานาจอธิปไตย
(Sovereignty) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้น จึงนำาไปสู่การก่อตั้ง
องค์ทางการเมือง หรือสถาบันการเมืองหลักดังต่อไปนี้ 22
21 อริสโตเติล (Aristotle) ปรัชญาเมธีทางด้านการเมืองการปกครองได้เคยอธิบาย
ไว้เมื่อครั้นตั้งแต่คริสต์ศักราช 350 ก่อนคริสกาลว่าการปกครองไม่ว่าจะมีรูปแบบใด
ก็ตามทีมีการทำาหน้าที่ผ่านการตรากฎหมาย การบริหาร และการตัดสินคดีความ
ต่าง ๆ
22 Martin Loughlin, The Concept of Constituent Power, Critical Analysis
of Law Workshop, University of Toronto 17 (2013).
24