Page 80 - kpiebook62001
P. 80

กลุ่มเป้าหมาย                                  นโยบายสวัสดิการ

                                            - เงินช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จากกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้า
                                            มนุษย์
                                            - เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือชาวเขาด้านสังคมสงเคราะห์
                                            - กองทุนยุติธรรมให้ค าปรึกษาด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

                                            - มาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านการเดินทาง (ยกเลิกแล้วในปี พ.ศ. 2560)
                                            - โครงการประกันสุขภาพภายใต้กองทุนประกันสังคม

                                            - โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า
               ที่มา: ดัดแปลงจาก ศรพล ตุลยะเสถียร และคณะ (2560)

                       นโยบายสวัสดิการของประเทศไทยจัดแบ่งได้ตามลักษณะดังนี้ (1) สวัสดิการที่เน้นช่วยเหลือช่วยเฉพาะกลุ่ม

               คนจนหรือการสงเคราะห์เฉพาะกลุ่มที่มีความยากล้าบาก (Poverty targeting) ซึ่งเริ่มปรากฏจากนโยบายการ

               สงเคราะห์ครอบครัวในปี พ.ศ. 2499 (2) สวัสดิการแบบประกันสังคม (Social Security) เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2515 ที่มี
               การก่อตั้งกองทุนเงินทดแทน และกฎหมายประกันสังคมที่มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2534 (3) สวัสดิการแบบถ้วนหน้า

               (Universal) ซึ่งเริ่มมีนโยบายลักษณะดังกล่าวมากขึ้นหลังจากที่มีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี พ.ศ. 2544

                       แม้ว่านโยบายสวัสดิการไทยมีลักษณะผสมผสานกันตามแต่ละช่วงเวลา หากพิจารณาจากจ านวนโครงการแล้ว
               ส่วนใหญ่ก็มีลักษณะการสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสและมีความเสี่ยงต่อการตกอยู่ภาวะยากล าบาก ถ้าใช้เกณฑ์

               ในการแบ่งนโยบายสวัสดิการตามแบบของ ริชาร์ด เอ็ม ทิทมัสส์ ก็จะตกอยู่ในประเภทสวัสดิการสังคมแบบชั่วคราว

               บรรเทาปัญหา หรือเก็บตก (Residualism) หรือถ้าใช้เกณฑ์การแบ่งตามแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ของ จอร์จ และ ไวล์
               ดิ้ง ก็จะตกอยู่ในกลุ่มแนวคิดขวาใหม่ (The New Right) หรือแบบเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) อย่างชัดเจน

                       พัฒนาการของสวัสดิการในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่มีแรงผลักดันที่ไม่ได้มีฐานคิดในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่

               เป็นการจัดสรรจากภาครัฐให้ประชาชนโดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับเป็นแนวดิ่ง ใช้การวางแผนและจัดท า
               นโยบายจากบนลงล่างตามแรงกระเพื่อมของสังคม ผลประโยชน์ทางการเมือง หรือทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจใน

               ประเทศเป็นหลัก เหตุการณ์ส าคัญที่ช่วยยืนยันข้อค้นพบนี้ได้แก่ การแสวงหาฐานอ านาจในสมัยจอมพล ป. อาจเป็น

               ตัวเร่งให้ขยายระบบการศึกษาสู่คนหมู่มาก การลดแรงเสียดทานจากขบวนการชาวนาจากปัญหาความเหลื่อมล้ าระหว่าง
               เขตเมืองและชนบทในสมัยของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช การบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมเพื่อรองรับการลงทุนใน

               โครงสร้างพื้นฐานสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ หรือแม้แต่นโยบายสวัสดิการหลาย ๆ โครงการที่เกิดขึ้นหลังจาก
               รัฐบาลทักษิณ ชิณวัตร (รวมถึงรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรด้วย) พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ก็ถูก

               วิพากย์วิจารณ์จากนักวิชาการว่ามีลักษณะประชานิยมที่หวังผลทางการเมือง

                       บัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็มีลักษณะการช่วยเหลือไม่แตกต่างไปจากนโยบายในอดีตนัก เพียงแต่มีรูปแบบวิธีการที่
               เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเหตุปัจจัยและความพร้อมต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น และมีฐานคิดมาแนวเสรีนิยมใหม่ในการจัด

               สวัสดิการสังคมอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ



                                                               71
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85