Page 81 - kpiebook62001
P. 81

(1) ประสิทธิภาพของการใช้จ่ายภาครัฐ การใช้จ่ายของภาครัฐนั้นหวังผลด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล

               เพื่อให้เกิดการรั่วไหลของการใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยคาดหมายให้เงินงบประมาณเจาะจงไปที่คนจนเท่านั้นโดยใช้เกณฑ์
               ด้านรายได้และสินทรัพย์เป็นหลักในการคัดกรอง นอกจากนั้น การใช้จ่ายเงินในบัตรนั้นถูกกรอบไว้ตามวัตถุประสงค์ที่

               รัฐบาลก าหนดไว้และเห็นว่าเป็นสิ่งจ าเป็นเท่านั้น แม้ว่าประชาชนจะสามารถน าเงินส่วนของตนเองไปใช้จ่ายทดแทนใน

               ส่วนที่รัฐบาลไม่ได้ก าหนดไว้ก็ตาม
                       (2) ความคาดหวังให้ประชาชนพึ่งตนเองได้จากการท้างาน รัฐบาลได้เพิ่มมาตรการเชิญชวนให้ผู้ถือบัตร

               สวัสดิการแห่งรัฐที่ว่างงานเข้าร่วมการฝึกอาชีพโดยจูงใจด้วยการให้เงินในบัตรส าหรับการใช้จ่ายในร้านธงฟ้าประชารัฐ

               เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนนัยให้เห็นว่าต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นสวัสดิการแบบชั่วคราวจนกว่าผู้ถือบัตรสามารถ
               ท างานและมีรายได้เกินกว่าเกณฑ์ 100,000 บาท

                       นอกจากนั้น มุมมองของรัฐบาล คสช. จากรายงานผลการด าเนินตามนโยบายและการสั่งการของพลเอก

               ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2560 ในส่วนนโยบายข้อ 3 การลดความเหลื่อมล้ าของสังคมและการสร้าง
               โอกาสการเข้าถึงบริการภาครัฐ

                              “ความเหลื่อมล้ าในสังคมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของปัญหาและความขัดแย้งและความเดือดร้อน

                       ทั้งหลายของประชาชน จึงมีนโยบายที่จะด าเนินการดังนี้
                              ๓.๑ ในระยะเฉพาะหน้า จะเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่

                       ตลาดแรงงาน รวมทั้งสตรี ผู้ด้อยโอกาส และแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมาย พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพ

                       ชีวิตแรงงาน โดยให้แรงงานทั้งระบบมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในทุกระดับ
                       อย่างมีมาตรฐาน ทั้งจะเชื่อมโยงข้อมูลและการด าเนินการระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน เพื่อให้

                       ตรงกับความต้องการของพื้นที่และของประเทศโดยรวม นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้า

                       สู่ระบบถูกกฎหมายมากขึ้น”
                       และได้กล่าวถึงแนวทางในการจัดสวัสดิการว่า

                              “๓.๓ ในระยะต่อไป จะพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคม ระบบการออม และระบบ

                       สวัสดิการชุมชนให้มีประสิทธภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้น รวมทั้งการดูแลให้มีระบบการกู้ยืมที่เป็น
                       ธรรมและการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ตามอัตภาพ พัฒนาศักยภาพ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ จัดสวัสดิการ

                       ช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรี และเด็ก”

               ที่มา: ส านักนายกรัฐมนตรี (2560)

                       ซึ่งสะท้อนความเชื่อของรัฐบาล คสช. ว่าการสร้างโอกาสและพัฒนาทักษะจะน าไปสู่การแก้ไขปัญหาความ

               เหลื่อมล้ าได้ ในขณะเดียวกันนั้น รัฐบาลมีหน้าที่ในการพัฒนาความคุ้มครองทางสังคมส าหรับผู้ด้อยโอกาส เพื่อน าไปสู่
               ข้อสังเกตประการสุดท้ายคือ






                                                               72
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86