Page 76 - kpiebook62001
P. 76

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะประชาชนในระดับ

               ฐานราก เพราะในทางทฤษฎีผู้มีรายได้น้อยมีความโน้มเอียงในการบริโภคสูง หมายความว่าหากผู้มีรายได้น้อยมีรายได้
               เพิ่มขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะน าเงินที่ได้รับไปบริโภค ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากไปในตัว ซึ่งจากการสัมภาษณ์

               นักวิชาการจาก สศค. และที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ก็มีความเห็นตรงกันว่า ในทางทฤษฎีบัตรสวัสดิการแห่ง

               รัฐจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้นซึ่งเป็นผลพลอยได้จากโครงการสวัสดิการ
                       นอกจากนั้น มติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “กองทุนประชารัฐเพื่อ

               เศรษฐกิจฐานราก” ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน โดยมีการก าหนดให้การ

               ด าเนินงานของกองทุนต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาระบบภาษีในลักษณะ Negative Income
               Tax ที่เป็นมาตรฐานสากล และวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ “ร่างพระราชบัญญัติกองทุน

               ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม พ.ศ. ...” โดยสาระส าคัญของร่างพระราชบัญญัตินี้กล่าวถึงแหล่งที่มาของ

               เงินกองทุน ได้แก่ เงินประเดิมของรัฐบาลที่จัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจ าปี และสามารถรับเงินบริจาคจาก
               ต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศได้ นอกจากนั้น การบริหารงานลักษณะกองทุนยังเปิดช่องให้สามารถลงทุนเพื่อ

               แสวงหาดอกผลได้ จุดประสงค์ของการก่อตั้งกองทุนนั้นเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการด าเนินงานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

               อย่างยั่งยืน ซึ่งชื่อของกองทุนนั้นมีนัยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากอย่างตรงไปตรงมา

                   3.4.4 ความพร้อมของหน่วยงานและเครื่องมือที่ใช้ในการระบุตัวคนจน

                       ความพร้อมในด้านต่าง ๆ อาจแบ่งพิจารณาได้จาก 2 ประการหลัก ประการแรก กระทรวงการคลังเป็น

               หน่วยงานหลักในจัดท าโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีแขนขามากมายที่มี

               ศักยภาพในการเข้าถึงประชาชน รวบรวมข้อมูล และด าเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี (1) สศค. เป็นหน่วยงาน
               วางแผนด าเนินงานและประมวลผลข้อมูล (2) กรมบัญชีกลาง ท าหน้าที่ในการเบิกจ่ายงบประมาณ (3) สถาบันการเงิน

               เฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions: SFIs) ได้แก่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตร

               และสหกรณ์ และคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ท าหน้าที่เป็นหน่วยรับลงทะเบียน นอกจากนั้น
               แล้ว ความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปมากถ้าเทียบกับในช่วงของ

               ความพยายามในการจัดท าฐานข้อมูลคนจนในช่วงรัฐบาลทักษิณ พ.ศ. 2547 ดังนั้น การจัดการฐานข้อมูลจ านวน 11.4

               ล้านคน และการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ๆ ย่อมมีความเป็นไปได้มากกว่าและรวดเร็วกว่าในทศวรรษก่อน
                       สืบเนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประการที่สอง กระทรวงการคลังได้ผลักดันแผน

               ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการช าระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ National e-Payment Master

               Plan ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แผนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวมีความตั้งใจ
               พัฒนาระบบการช าระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับยุคที่อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ

               ขยายตัวในวงกว้าง แผนยุทธศาสตร์ฯ ประกอบไปด้วย 4 โครงการหลัก ได้แก่ (1) ระบบรับและโอนเงินพร้อมเพย์ (2)





                                                               67
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81