Page 46 - kpiebook62010
P. 46

39






                                   คำว่า “ศักดิ์ศรี” (ของสัตว์) ได้รับการบัญญัติไว้ในมาตรา 3 (a) บทนิยามศัพท์ว่า

               หมายถึง “คุณค่าอันสมบูรณ์ในตัวสัตว์อันบุคคลซึ่งดูแลนั้นจะต้องให้ความเคารพ การกระทำอันถือเป็น
               การละเมิดต่อศักดิ์ศรีของสัตว์นั้นหมายถึงการกระทำที่สร้างข้อจำกัดใดๆที่อยู่เหนือกว่าประโยชน์ของสัตว์
               โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยการบาดเจ็บ อันตราย การกระทำให้สัตว์นั้นอยู่ในภาวะเครียด รวมถึงทำการใดให้

               เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งรูปลักษณ์หรือความสามารถของสัตว์ หรือใช้งานสัตว์นั้นเกินสมควร”


                                   (ข) ทำให้สัตว์นั้นตายด้วยความทารุณโหดร้ายหรือด้วยเจตนาร้าย

                                   (ค) จัดการให้มีการต่อสู้กันของสัตว์ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์นั้นได้รับความทารุณหรือตาย


                                   (ง) ทำให้สัตว์ได้รับบาดแผล ได้รับความทุกข์ทรมาน เป็นอันตรายหรือทำให้สัตว์
               หวาดวิตกในระหว่างการทำการทดลอง เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามวัตถุประสงค์แห่งการทดลองนั้น


                                   (จ) จงใจทิ้งหรือปล่อยสัตว์ที่เลี้ยงหรือดูแลออกไปโดยมีเจตนาที่จะละทิ้งสัตว์นั้น


                                   นอกจากนี้ ในรัฐกฤษฎีกาว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์ ยังกำหนดการกระทำต้องห้ามต่อ
               สัตว์แต่ละชนิดไว้โดยละเอียด ในหมวดที่ 2 ส่วนที่ 3 ว่าด้วยการกระทำต้องห้ามต่อสัตว์


                                   โดยการกระทำที่ต้องห้ามต่อสัตว์ทุกชนิด ได้แก่


                                   (ก) การฆ่าโดยทำให้สัตว์นั้นทุกข์ทรมานจากบาดแผล

                                   (ข) ทุบตีที่ลูกตาหรืออัณฑะ หรือตีหรือบีบหางของสัตว์


                                   (ค) ฆ่าสัตว์โดยทารุณโหดร้าย หรือการยิงสัตว์ที่เชื่องแล้วหรือถูกขังอยู่


                                   (ง) จัดให้สัตว์ต่อสู้กันจนสัตว์นั้นได้รับความทารุณหรือถึงตาย


                                   (จ) ใช้สัตว์นั้นเพื่อการแสดง การโฆษณา ถ่ายภาพยนตร์ หรือโดยประการอื่นที่มี
               ลักษณะเดียวกัน อันเป็นเหตุให้สัตว์นั้นได้รับความเจ็บปวดทรมาน เป็นอันตรายหรือได้รับทุกข์เวทนา


                                   (ฉ) จงใจทิ้งหรือปล่อยสัตว์ที่เลี้ยงหรือดูแลออกไปโดยมีเจตนาที่จะละทิ้งสัตว์นั้น

                                   (ช) ใช้ยาหรือสารกระตุ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแก่สัตว์ โดยที่ยาหรือสาร

               นั้นอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือสวัสดิภาพของสัตว์

                                   (ซ) เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬากับสัตว์ที่ได้รับยาหรือสารต้องห้ามที่สหพันธ์กีฬาหรือ

               ที่ประกาศโดยกฤษฎีกาของ สำนักงานว่าด้วยควรปลอดภัยทางอาหารและสัตว์แพทย์ของสหพันธรัฐ (Office
               fédéral de la sécurité alimentaire et des affaires veterinaries) (l’OSAV)












                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51