Page 41 - kpiebook62010
P. 41

34






                     
   
   3.3.1.3  การกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์และข้อยกเว้น


                                   ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยสวัสดิภาพของสัตว์แห่งสหพันธรัฐเยอรมันไม่มีบทนิยามของคำว่า
               “ทารุณกรรมสัตว์” ไว้เฉพาะเจาะจงว่าการทารุณกรรมได้แก่การกระทำใดบ้าง แต่ได้มีการกำหนดให้การกระทำ

               ที่ก่อให้สัตว์เกิดความเจ็บปวด (pain) ทรมาน (suffering) หรือเป็นอันตราย (harm) เป็นการกระทำไม่อาจทำได้
               เช่น การฆ่าสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือกรณีที่ทำให้สัตว์มีกระดูกสันหลังเจ็บปวด ทรมานอย่าง

               โหดร้ายทารุนหรือทำให้ต้องเจ็บปวดหรือทรมานอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ต้องได้รับโทษ

                                   ทั้งนี้ มาตรา 3 ได้กำหนดข้อห้ามมิให้กระทำต่อสัตว์ไว้รวมทั้งสิ้น 14 ประการ ดังนี้


                                   (1) การใช้งานสัตว์ที่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการเกินกว่ากำลังความสามารถของสัตว์นั้น
               (มาตรา 3 (1))


                                   (2) การรักษาหรือผ่าตัดสัตว์ด้วยประการใดๆที่มีผลกระทบต่อกำลังความสามารถของ
               สัตว์นั้น  (มาตรา 3 (1a))


                                   (3) การใช้สัตว์ในการฝึกซ้อมหรือในการกีฬาหรือกิจกรรมอื่นที่มีลักษณะเดียวกันที่อาจ
               จะทำให้สัตว์นั้นได้รับบาดเจ็บ ทุกข์ทรมาน หรือเป็นอันตราย เมื่อพิจารณาจากกำลังความสามารถของสัตว์นั้น

               รวมถึงการใช้ยาเพื่อเพิ่มกำลังความสามารถ (Doping) แก่สัตว์ด้วย (มาตรา 3 (1b))


                                   (4) ซื้อหรือขายสัตว์ที่ป่วยหรือชรา หรือได้รับบาดแผลหรือความทุกข์ทรมานในลักษณะ
               ที่ไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ได้หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมนุษย์ ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับกับใช้บังคับกับการขายสัตว์ที่เป็นโรค
               โดยตรงให้แก่บุคคลหรือสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 8 และในกรณีที่สัตว์มีกระดูกสันหลังได้รับ
               การยกเว้นตามมาตรา 9 วรรค 2 (7) สำหรับการทดลองในสัตว์    (มาตรา 3 (2))


                                   (5) ปล่อยสัตว์ที่ตนเลี้ยงไว้เพื่อให้พ้นจากความรับผิดชอบในการดูแล (มาตรา 3 (3))


                                   (6) การปล่อยสัตว์เข้าสู่ป่าโดยไม่ได้เตรียมตัวในการปรับพฤติกรรมเกี่ยวกับการกิน
               อาหาร ที่อยู่อาศัย หรือสภาพอากาศอย่างเหมาะสมเสียก่อน ทั้งนี้ไม่ใช่บังคับในกรณีของการล่าสัตว์หรือบทบัญญัติ

               เกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมตามกฎหมายอื่น (มาตรา 3 (4))

                                   (7) การฝึกสัตว์ที่อาจจะทำให้สัตว์นั้นได้รับบาดเจ็บ ทุกข์ทรมาน หรือเป็นอันตราย

               (มาตรา 3 (5))

                                   (8) การถ่ายภาพยนตร์ จัดแสดง หรือโฆษณาสัตว์ที่อาจจะทำให้สัตว์นั้นได้รับบาดเจ็บ

               ทุกข์ทรมาน หรือเป็นอันตราย (มาตรา 3 (6))

                                   (9) การทดสองหรือฝึกสัตว์ด้วยสัตว์อื่นที่มีชีวิต  (มาตรา 3 (7))


                                   (10) การจัดสัตว์ไว้เพื่อการล่าในเกมกีฬา (มาตรา 3(8))








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46