Page 51 - kpiebook62010
P. 51
44
หมวดว่าด้วยการฟ้องคดี มาตรา 30 – 31 กำหนดอำนาจขององค์กรท้องถิ่นในการฟ้อง
คดีและอายุความ
หมวดโทษอาญาและมาตรการหลังการพิพากษา มาตรา 32 – 45 มีสาระสำคัญ
เป็นการกำหนดในเรื่องของการลงโทษอาญาต่อผู้กระทำความผิดตามกฎหมายนี้ การยึดสัตว์ การจำกัดสิทธิ
การเลี้ยงสัตว์ การทำลายสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเพื่อประโยชน์ของสัตว์นั้น การเรียกค่าใช้จ่าย
ในการทำลายสัตว์จากผู้กระทำความผืด การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การระงับใบอนุญาต
และการอุทธรณ์ในกรณีต่างๆ
หมวดว่าด้วยการใช้บังคับในสก็อตแลนด์ มาตรา 46 – 50 กำหนดรายละเอียดในการ
บังคับใช้กฎหมายนี้ในสก็อตแลนด์
หมวดรายละเอียดปลีกย่อย มาตรา 51 – 69 กำหนดรายละเอียดในเรื่องอื่นๆ เช่น
เรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตรวจสอบ อำนาจในการเข้าตรวจค้น อำนาจในการหยุดหรือกักยานพาหนะ เรือ
หรืออากาศยาน ความผิดของนิติบุคคล การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ข้อยกเว้นเกี่ยวกับการประมง การตีความ
บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการเงิน และรายละเอียดอื่นๆ
3.3.2.2 สัตว์ที่กฎหมายคุ้มครอง
สำหรับคำว่า “สัตว์” ตามนัยของกฎหมายฉบับนี้ มาตรา 1 (1) นั้นให้หมายถึงสัตว์
มีกระดูกสันหลังนอกเหนือจากมนุษย์ แต่ไม่รวมถึงสัตว์ที่อยู่ในรูปของตัวอ่อนในครรภ์หรือเป็นเอ็มบริโอ (มาตรา
1(1)) แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายนี้อาจจะบัญญัติเพิ่มเติมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด
ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ก็ได้ (มาตรา 1 (3)) หากมีข้อเท็จจริงหรือข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ว่า
สัตว์ชนิดนั้นรับรู้ได้ถึงความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวด
ส่วนขอบเขตของสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองนั้น มาตรา 2 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
บัญญัติขอบเขตไว้ว่า ได้แก่ (a) สัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่โดยทั่วไปในหมู่เกาะอังกฤษ (British Islands) (b) สัตว์ที่อยู่ใน
ความควบคุมของมนุษย์ ไม่ว่าจะโดยถาวรหรือเป็นการชั่วคราว หรือ (c) สัตว์นั้นไม่ใช่สัตว์ป่า
3.3.2.3 การกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์และข้อยกเว้น
การกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์ตามกฎหมายอังกฤษนั้น มี 5 ประการ
ได้แก่ (1) การทำให้สัตว์นั้นได้รับความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น (2) การตัดหรือขลิบอวัยวะของสัตว์ (3) การตัด
หางสุนัข (4) การให้สารพิษแก่สัตว์ และ (5) การให้สัตว์ต่อสู้กัน
การกระทำที่ถือว่าเป็นการทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็นนั้น สรุปได้ว่า
การกระทำหรืองดเว้นการกระทำของผู้นั้น เป็นเหตุให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน โดยผู้นั้นก็รู้หรือควรรู้ว่า
การกระทำของตนนั้นอาจจะก่อให้เกิดผลเช่นนั้นต่อสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ และการนั้นเป็น
ความทุกข์ทรมานอันไม่จำเป็น ซึ่งการนี้รวมถึงการที่ผู้รับผิดชอบสัตว์นั้นกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการให้
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557