Page 47 - kpiebook62010
P. 47
40
(ฌ) กระทำการหรือละเว้นการกระทำการที่ทำให้สัตว์ที่นำมาใช้แสดงนั้นได้รับความ
เจ็บปวด ทรมาน หรือมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของสัตว์นั้น
(ญ) ใช้สัตว์เพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ
(ฎ) ขนส่งสัตว์โดยการส่งไปกับพัสดุไปรษณีย์
(ฏ) ส่งออกสัตว์ชั่วคราวโดยวิธีการที่ต้องห้ามซึ่งทำให้จะต้องส่งกลับมาในภายหลัง
อันเป็นการทำให้สัตว์นั้นได้รับความทุกข์ทรมาน
(ฐ) ใช้ระบบรั้วไฟฟ้า ซึ่งมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นตัวรับสัญญาณฝังอยู่ในตัวสัตว์
นอกจากนี้ ในกฤษฎีกาฉบับนี้ก็ได้มีการกระทำที่ต้องห้ามกระทำต่อสัตว์แต่ละชนิด
โดยละเอียดอีกด้วย เช่น ห้ามตัดหางวัวหรือหมู ตัดจงอยปากหรือปีกนก ห้ามตัดหางหรือหูหรือส่วนที่ทำให้เกิด
เสียงของสุนัข ห้ามนำปลาไปใช้เป็นเหยื่อ ฯลฯ
3.3.2.4 การจัดสวัสดิภาพสัตว์
คำว่า “สวัสดิภาพสัตว์” ได้รับการบัญญัติไว้ในบทนิยามศัพท์มาตรา 3 (b) ว่าหมายถึง
“1. กรณีที่การกักขังและการให้อาหารสัตว์นั้นเป็นไปอย่างเหมาะสมแก่สภาพร่างกายตามปกติ และไม่ทำให้
มันต้องใช้ความสามารถในการปรับตัวมากเกินสมควร 2. กรณีที่สัตว์นั้นสามารถมีพฤติกรรมตามสายพันธ์ได้
ภายใต้ข้อจำกัดในการปรับตัวตามหลักชีวภาพ 3. กรณีที่สัตว์จะได้รับการรักษาสุขอนามัย 4. ในกรณีที่สัตว์
จะได้รับการคุ้มครองจากการบาดเจ็บ ความทุกข์ทรมาน อันตราย และความความเครียด”
นอกจากนี้ หลักการจัดสวัสดิภาพสัตว์นั้นปรากฏอยู่ในหมวดที่ 2 ส่วนที่ 1 ซึ่งว่าด้วย
การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งกำหนดหลักการทั่วไปไว้ในมาตรา 6 ว่า ผู้ดูแลสัตว์ทุกคนมีหน้าที่จะต้องดูแลสัตว์ให้ได้รับอาหาร
ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และให้ได้รับเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหวที่เหมาะสมแก่สวัสดิภาพของมัน
โดยคณะรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐหลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว อาจจะออกข้อกำหนด
เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูสัตว์ซึ่งจะเป็นการห้ามมิให้มีการเลี้ยงดูสัตว์ที่ขัดต่อหลักการเรื่องสวัสดิภาพ
ของสัตว์เพิ่มเติมอีกก็ได้ โดยพิจารณาถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ จากการ
ทบทวนบทเรียน หรือเมื่อพิจารณาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแล้ว ทั้งนี้อาจจะกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วย
การต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้เลี้ยงหรือดูแลสัตว์ด้วยก็ได้
ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์นั้นถูกกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยไว้
ในรัฐกฤษฎีกาว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์ ซึ่งมีหลักทั่วไปอยู่ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยการกักขังและเลี้ยงดูสัตว์ ส่วนที่ 1
บททั่วไป โดยกำหนดหลักการพื้นฐานไว้ในมาตรา 4 สรุปได้ว่า
(1) สัตว์จะต้องได้รับการดูแลด้วยวิธีการซึ่งให้มันสามารถแสดงพฤติกรรมได้อย่าง
เหมาะสมตามสายพันธ์ของมัน โดยไม่ต้องใช้ความสามารถในการปรับตัวมากเกินไป
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557