Page 42 - kpiebook62010
P. 42

35






                                   (11) การฝึกสัตว์ให้เกิดความก้าวร้าว โดยทำให้สัตว์นั้นได้รับบาดเจ็บ ทุกข์ทรมาน หรือ

               เป็นอันตราย การทำให้สัตว์นั้นได้รับความทุกข์ทรมานหรือเจ็บปวดเป็นการเฉพาะเมื่อพิจารณาจากสายพันธุ์ของ
               มัน หรือโดยการดูแลสัตว์ให้อยู่ในสภาพที่ทุกข์ทรมานหรือเป็นอันตรายทั้งที่อาจหลีกเลี่ยงได้ (มาตรา 3(8a))


                                   (12) การบังคับให้สัตว์กินอาหารจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (force-feeding) (มาตรา
               3(9))


                                   (13) การให้อาหารสัตว์ในลักษณะที่อาจจะทำให้สัตว์นั้นได้รับบาดเจ็บ ทุกข์ทรมาน
               หรือได้รับอันตราย (มาตรา 3(10))


                                   (14) การใช้ไฟฟ้าเพื่อควบคุมหรือกักสัตว์ ในลักษณะที่อาจจะทำให้สัตว์นั้นได้รับ
               บาดเจ็บ ทุกข์ทรมาน หรือได้รับอันตราย เว้นแต่เป็นไปตามที่กฎหมายท้องถิ่นนั้นบัญญัติ  (มาตรา 3(11))


                                   ส่วนการกระทำที่อาจถือเป็นการทารุณกรรมอื่นๆ จะถูกกำหนดไว้เฉพาะเรื่อง เช่น
               การกำหนดวิธีการฆ่าสัตว์ หรือการผ่าตัดสัตว์ เพื่อให้สัตว์ไม่ต้องทรมาน โดยกำหนดให้ต้องใช้ยาชาในกรณีเป็น

               สัตว์มีกระดูกสันหลัง หรือวางยาสลบก่อนในกรณีเป็นสัตว์เลือดอุ่น เป็นต้น

                                   สำหรับข้อยกเว้นนั้นไม่มีการกำหนดข้อยกเว้นโดยรวมไว้ ข้อยกเว้นจะถูกกำหนดตาม

               การกระทำนั้นๆ  เช่น ข้อยกเว้นกรณีไม่ต้องให้ยาชาแก่สัตว์ก่อนมีการผ่าตัดอาจทำได้หากเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือ
               เมื่อสัตวแพทย์มีความเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องให้ยาชา  หรือข้อยกเว้นให้ฆ่าสัตว์เลือดอุ่นได้โดยไม่ต้องวางยา
               สลบ หากเป็นไปตามพิธีกรรมตามศาสนาและเจ้าหน้าที่อนุญาตแล้ว หรือข้อยกเว้นกรณีการทดลองในสัตว์ซึ่งก่อให้

               สัตว์เกิดความเจ็บปวด ทรมาน อย่างรุนแรง ต่อเนื่องซ้ำๆ จะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด
               ต่อความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และสัตว์ หรือเพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น


                                   รัฐบัญญัตินี้เป็นรัฐบัญญัติที่ค่อนข้างเข้มงวดจึงไม่มีการบัญญัติข้อยกเว้นไว้มากนัก กรณี
               ที่อาจยกเว้นตามรัฐบัญญัตินี้ได้ โดยมากจึงเป็นการให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกคำสั่งอนุญาตให้
               กระทำได้ หรือเป็นกรณีที่มีกฎหมายอื่นยกเว้นไว้ เช่น การห้ามใช้อุปกรณ์ใดๆ ต่อสัตว์มีกระดูกสันหลัง เพื่อจับ

               เพื่อให้ไป หรือเพื่อให้กลัว หากการใช้อุปกรณ์นั้นจะเป็นอันตราย ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมานต่อสัตว์มีกระดูก
               สันหลัง ยกเว้นกรณีที่มีการอนุญาตตามกฎหมายอื่น


                     
   
   3.3.1.4  การจัดสวัสดิภาพสัตว์


                                   รัฐบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ ไม่ให้มนุษย์
               กระทำการใดให้สัตว์ต้องได้รับความทนทุกข์ทรมานโดยปราศจากเหตุผลอันควร ในพระราชบัญญัตินี้จึงได้มี
               การบัญญัติสวัสดิภาพของสัตว์ โดยกำหนดถึงการกระทำที่พึงต้องปฏิบัติต่อสัตว์ เช่นในมาตรา 2 a กำหนดให้
               ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องให้อาหาร ให้ที่อยู่แก่สัตว์ตามความเหมาะสมของสัตว์ชนิดนั้นๆ การให้เสรีภาพในการเคลื่อนไหว

               สัตว์ตามพฤติกรรมของสัตว์แต่ละชนิด โดยหากมีการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่จำกัด หรือในกรงขังต้องมีสภาพเหมาะสม
               ทั้งอุณหภูมิ และแสง การขนส่งสัตว์ต้องมีการขออนุญาตและต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ สำหรับสัตว์บางประเภท









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47