Page 52 - kpiebook62010
P. 52
45
บุคคลอื่นเข้ามากระทำให้สัตว์นั้นได้รับความทุกข์ทรมาน โดยความยินยอมหรือการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อันสมควร
ที่จะป้องกันไม่ให้การนั้นเกิดขึ้น จนสัตว์นั้นได้รับความทุกข์ทรมานอันไม่จำเป็นด้วย
นอกจากนี้วรรคสามของมาตรา 4 ยังกำหนดแนวทางเพื่อการพิจารณาว่า ความทุกข์
ทรมานของสัตว์นั้นถือเป็นความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ ได้แก่ (1) ความทุกข์ทรมานนั้นอาจหลีกเลี่ยง
หรือทำให้ลดน้อยลงได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ (2) การกระทำนั้นได้รับอนุญาตหรือมีอำนาจตามที่กฎหมาย
บัญญัติไว้หรือไม่ (3) การกระทำให้สัตว์นั้นทุกข์ทรมาณนั้นมีเหตุผลอันชอบธรรมหรือไม่ ได้แก่ เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ของสัตว์นั้นเอง หรือเป็นไปเพื่อปกป้องบุคคล ทรัพย์สิน หรือสัตว์อื่น (4) ความทุกข์ทรมานนั้นพอสมควร
หรือได้สัดส่วนแก่วัตถุประสงค์ที่ชอบหรือไม่ (5) การกระทำนั้นชอบด้วยเหตุผลอันสมควรหรือมีมนุษยธรรมหรือไม่
และการฆ่าหรือทำลายสัตว์โดยวิธีการที่เหมาะสมหรือวิธีการที่มีมนุษยธรรมนั้นไม่ให้
ถือว่าเป็นความผิดตามมาตรานี้
การตัดหรือขลิบอวัยวะสัตว์ ถือเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5
ไม่ว่าจะกระทำการนั้นเองหรือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำนั้น รวมถึงการยินยอมให้ผู้อื่นมากระทำการเช่นนั้นด้วย
แต่การนี้ไม่รวมถึงการตัดหางทั้งหมดของสุนัข
การตัดหางสุนัข ก็ถือเป็นการกระทำอันต้องห้ามกฎหมายตามมาตรา 6 โดยผู้ใดตัดหาง
ทั้งหมดหรือบางส่วนของสุนัข หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำการเช่นนั้น หากไม่ใช่ด้วยเหตุผลเพื่อการรักษาพยาบาล
แล้วก็ถือว่ามีความผิด อย่างไรก็ตาม การตัดหางสุนัขนี้จะไม่เป็นความผิด หากกระทำต่อสุนัขเพื่อการทำงาน
สายพันธ์ที่ได้มีการรับรองแล้วว่าอาจตัดหางได้ และต้องกระทำภายใน 5 วัน หลังจากสุนัขนั้นเกิด โดยการตัดหาง
นั้นจะต้องกระทำโดยสัตว์แพทย์
การวางยาพิษสัตว์ บัญญัติไว้ในมาตรา 7 ให้ถือเป็นความผิดเมื่อผู้ใดฉีดยาหรือสารเคมี
เข้าสู่ตัวสัตว์โดยรู้อยู่ว่าสารนั้นเป็นสารพิษหรืออาจก่ออันตรายต่อสัตว์ หรือเป็นเหตุให้มีการกระทำเช่นว่านั้น
ซึ่งรวมถึงการยินยอมหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อันสมควรที่จะป้องกันไม่ให้การนั้นเกิดขึ้น โดยปล่อยให้บุคคลอื่น
มาฉีดยาพิษหรือใช้สารพิษเช่นนั้นโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายต่อสัตว์ที่ตนต้องรับผิดชอบด้วย
การให้สัตว์ต่อสู้กัน นั้นเป็นความผิดตามมาตรา 8 ในกรณีที่บุคคลใด(a) เป็นเหตุให้สัตว์
นั้นต่อสู้กันหรือพยายามกระทำการเช่นนั้น (b) รับเงินเพื่อยินยอมให้บุคคลเข้าชมการต่อสู้ระหว่างสัตว์ (c) โฆษณา
การต่อสู้ระหว่างสัตว์ (d) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการต่อสู้ของสัตว์ต่อบุคคลอื่นโดยมีเจตนาเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมให้มี
การนำสัตว์มาต่อสู้กัน (e) รับหรือยอมรับเดิมพันในการต่อสู้ระหว่างสัตว์ หรือกระทำการอันใดที่คล้ายกันในการ
ทายผลการต่อสู้ของสัตว์ (f) เข้าร่วมในกิจกรรมการต่อสู้ของสัตว์ (g) ครอบครองอุปกรณ์หรือสิ่งที่อาจจะเกี่ยวข้อง
ต่อการต่อสู้ของสัตว์ (h) ฝึกสัตว์โดยมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ของสัตว์ (i) เก็บทรัพย์สินใดๆ ที่ใช้ในการ
ต่อสู้ของสัตว์
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557