Page 10 - kpiebook62011
P. 10

การตรากฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยระบุเจาะจงอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่

               ถูกเวนคืนตามความจำเป็น มิให้ถือว่าเป็นการขัดต่อมาตรา 26 วรรคสอง”

                     สาระสำคัญของบทบัญญัติภายใต้มาตรา 37 แห่งร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น

               ประเด็นแรก คือ การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน ประเด็นที่สอง คือ การรับรองการใช้อำนาจรัฐในการ
               เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์สาธารณะ และประเด็นสุดท้าย คือ การรักษาสมดุลโดยกำหนดให้รัฐชดใช้

               ค่าทดแทน

                     เนื้อหาในส่วนนี้จะศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติ
               ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆ มานับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน

               เช่นเดียวกันกับร่างรัฐธรรมนูญฯ ที่กล่าวมาข้างต้น ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน การรับรอง
               การใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการกำหนดให้รัฐชดใช้ค่าทดแทน


                 1. การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน

                     การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชนปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช
               2475 ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย รัฐธรรมนูญฉบับนี้กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพต่างๆ รวมไว้

               ในมาตราเดียว คือ มาตรา 14 ซึ่งบัญญัติว่า

                     “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด

               การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ”

                     บทบัญญัติดังกล่าวเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
               และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ต่อมา รัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่แยกเรื่องการรับรองสิทธิของบุคคล
               ในทรัพย์สินออกจากสิทธิอื่นๆ ตามมาตรา 34 ดังนี้


                     “สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตาม
               บทบัญญัติแห่งกฎหมาย”


                     ทั้งนี้ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาจนกระทั่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด บทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิ
               ในทรัพย์สินของเอกชนดังกล่าวเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

                 2. การรับรองการใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

                     นอกจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่แยกเรื่อง

               การรับรองสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินออกจากสิทธิอื่นๆ แล้ว ยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่รับรองการใช้อำนาจ
               รัฐในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 34 ดังนี้













                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15