Page 77 - kpiebook62015
P. 77

บทที่ 5
                                                       สรุปและข้อเสนอแนะ


                        5.1 สรุปผล



                                โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ดประกอบด้วยปฏิบัติการใน
                        ระดับพื้นที่ด้วยการท างาน 5 ขั้นตอน ด าเนินการเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี  ปฏิบัติการแต่ละ

                        ขั้น มีเครื่องมือเพื่อเรียนรู้ที่แตกต่างกันทั้งการอบรมและส่งเสริมกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม การจัด
                        เวทีแสดงผลงาน และการถอดบทเรียนในการเรียนรู้  เช่น โรงเรียนพลเมือง การอบรมเชิง

                        ปฏิบัติการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชน และ เวทีพลเมือง ส าหรับประชาชนที่สนใจ ครู

                        อาจารย์ นักเรียน เยาวชน และ ชุมชน
                                ผลการด าเนินโครงการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนากรอบคิด (mindset) ของพลเมือง

                        ที่รอคอยการแก้ไขปัญหาโดยรัฐ (passive citizen)  ไปสู่การเป็นพลเมืองที่ใส่ใจในบทบาทหน้าที่

                        ของตนในฐานะพลเมือง (concerned citizen) ไปจนถึงลงมือท า (action) ด้วยตนเองเพื่อชุมชน
                        (active  citizen)  เป็นพลเมืองที่รู้ถึงพลังอ านาจของตน ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาชุมชน

                        เปลี่ยนแปลงความคิดและแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นและมีส่วนร่วม และได้
                        พัฒนาตนเองสู่พลเมืองประชาธิปไตย  นอกจากนี้โครงการหรือกิจกรรมในพื้นที่ยังสามารถพัฒนา

                        เป็นรูปแบบหนึ่งของการเสริมสร้างพลังพลเมืองในพื้นที่อื่น ๆ ได้ ทั้งในภาพรวมและรายกรณี

                        เช่น กรณีการเลือกตั้งไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง นอกจากนี้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไข
                        ปัญหาของพื้นที่ สามารถผลักดันสู่หน่วยงานรัฐภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยน าเสนอโครงการแก้ไข

                        ปัญหา 7 โครงการสู่หน่วยงานระดับจังหวัดเพื่อก าหนดเป็นนโยบายและแผนในการแก้ปัญหา
                        และพัฒนาจังหวัดต่อไป และยังสามารถตอบสนองยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้วย

                                ในกระบวนการศึกษาเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง

                        พลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น ผู้ศึกษาพบกับความทับซ้อนกันขององค์ความรู้ระหว่างความเป็น
                        พลเมืองและความเป็นชุมชนที่กล่าวได้ว่าเป็นเนื้อเดียวกัน แม้การศึกษาที่ผ่านมักแยกศึกษา

                        ปัจเจกและกลุ่ม โดยเฉพาะการศึกษาความเป็นพลเมืองที่มักให้ความสนใจการพัฒนาในฐานะ

                        ปัจเจก (individual)  ขณะที่พลเมืองไม่สามารถพิจารณาแยกจากกลุ่มก้อน ชุมชน หรือสังคมได้
                        (collective) การสังเคราะห์องค์ความรู้จากการท างานหรือปฏิบัติการที่ผ่านไปในโครงการ

                        ปฏิบัติการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองนั้น ผู้ศึกษาจึงสังเคราะห์จากงานวิชาการด้านชุมชน

                        เข้มแข็ง ที่มีฐานคิดของหน่วยทางสังคมที่ปัจเจกบุคคลด ารงอยู่ในฐานะผู้กระท าการคือหน่วย




                                                               64
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82