Page 78 - kpiebook62015
P. 78
ส าคัญต่อสังคม บุคคลเข้มแข็ง สังคมเข้มแข็ง พลเมืองเข้มแข็งชุมชนย่อมเข้มแข็ง ดังนั้นเมื่อ
โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองมีกรอบของการรวมตัวรวมกลุ่ม งานวิจัยและงาน
วิชาการเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองกับชุมชนเข้มแข็งจึงเป็นเครื่องมือตรวจสอบกับองค์ความรู้ที่
ปรากฏในพื้นที่ เพื่อพัฒนาข้อสรุปส าหรับองค์ความรู้ที่ใช้ในโครงการปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้าง
พลังพลเมืองดังกล่าว และพยายามพัฒนาปฏิบัติการและองค์ความรู้นั้นเป็นรูปแบบกระบวนการ
เพื่อน าไปปฏิบัติและพัฒนาต่อในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประกอบด้วยแนวคิด หลักการ และ ความรู้ของการปฏิบัติ
และเป็นความเชื่อมโยงระหว่างความรู้หลายประเภท เช่น ความรู้เชิงปรัชญา อุดมการณ์
(ideology) เพื่อหลักการ แนวคิด ที่เป็นรากฐานของการปฏิบัติ ความรู้เชิงเทคนิคปฏิบัติ
(technical knowledge) เพื่อปฏิบัติการเป็นไปได้ และมีประสิทธิภาพ เช่น การสื่อสารและการ
สร้างความไว้วางใจ หรือการเป็นผู้น าที่ต้องการทักษะในการปฏิบัติ และเมื่อการสร้างพลัง
พลเมืองเป็นแนวคิดที่มีการด ารงชีวิตของปัจเจกในสังคมเป็นส าคัญ ดังนั้น องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่
ศึกษาพบนั้นจึงมีองค์ประกอบย่อยเพื่อครอบคลุมมิติต่าง ๆ ที่ควรศึกษาต่อไป และต้องค านึงถึง
บริบทเฉพาะของพื้นที่ที่ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ตลอดจนความเป็นการเมืองในพื้นที่ที่
แตกต่างกัน
5.2 ข้อเสนอแนะ
5.2.1 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
การน ารูปแบบไปใช้และติดตามผล เพื่อพัฒนาเป็นชุดความรู้การบูรณาการความร่วมมือ
ในพื้นที่เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย โดยผ่านกระบวนการรวมตัวเป็นกลุ่ม
(collective) ที่มีความร่วมไม้ร่วมมือ (collaborative) ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาตามประเด็นที่
ต้องการพัฒนา โดยมีข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการต่อการท างานในพื้นที่กรณีน ารูปแบบไปใช้ ดังนี้
1) ตระหนักถึงความส าคัญของทุนทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของพื้นที่ และ
น ามาใช้ให้เป็นประโยชน์ ดังตัวอย่างของโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ใช้ทุนทางสังคมที่เป็นบุคคล คือ ผู้น าชุมชนที่มีอยู่เดิม หรือทุน
ทางสังคมที่เป็นวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมในโครงการถนนสายวัฒนธรรม อ.ปทุมรัตต์
เพราะการให้ความส าคัญกับทุนทางสังคมเป็นแนวทางเสริมสร้างพลังพลเมืองโดย
เน้นคุณค่า (appreciativeness oriented approach) เพื่อสร้างความตระหนักใน
65