Page 79 - kpiebook62015
P. 79
ตนเองและชุมชน ด้วยการค้นหาสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่และก าหนดเป้าหมายร่วมเพื่อพัฒนา
ร่วมกัน จะสร้างความมั่นใจในศักยภาพโดยไม่ต้องพึ่งพิงภายนอก
2) ควรมีการจัดการความรู้ของพื้นที่เพื่อใช้เป็นทรัพยากรในการบูรณาการและพัฒนา
กระบวนการคิดของแกนน า ควบคู่ไปกับกระบวนการสนับสนุนจากสถาบันฯ เพื่อ
ยกระดับมโนทัศน์ในการพัฒนาและกระบวนการจัดการเพื่อการขับเคลื่อนให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงและสร้างความเป็นพลเมืองต่อไปได้ ดังตัวอย่างของโครงการ
ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ส่งเสริมการเปิดโรงเรียน
พลเมืองซึ่งเป็นพื้นที่หลักของการเรียนรู้และจัดการความรู้ของชุมชน
3) ข้อเสนอต่อ สภาพลเมืองควรเร่งก าหนดเป้าหมายร่วม (common good) หรือ
ความดีร่วมที่เป็นเป้าหมายเพื่อเดินไปให้ถึง ซึ่งอาจเป็นประเด็นแก้ไขปัญหาร่วมกัน
เพื่อมีเป้าหมายร่วมกันก็ได้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งต่อความรู้ ดังที่พบใน
ภาคสนามปัจจุบันคือการแบ่งปันทรัพยากร (วิทยากร) ระหว่างพื้นที่ ซึ่งหากเป็นไป
ได้ควรมีการสร้างวิทยากรในพื้นที่และการส่งผ่านการเรียนรู้ระหว่างแกนน าที่เป็น
สมาชิกสภาพลเมือง ที่ต่างมีศักยภาพที่หลากหลาย การส่งผ่านความสามารถจะ
สร้างความเข้มแข็งในตัวผู้น าเพื่อขยายผลการสร้างเสริมพลเมืองในพื้นที่ต่อได้ใน
ลักษณะตัวคูณ
5.2.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1) โรงเรียนพลเมืองควรได้รับการส่งเสริมความส าคัญและขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งใน
จังหวัดร้อยเอ็ดและพื้นที่อื่น ในฐานะกลไกส าคัญของสร้างพื้นที่สาธารณะและเป็นพื้นที่ให้ความรู้
การศึกษา และอบรม ตามชุดองค์ความรู้ทั้ง 7 ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมศักยภาพ ทั้งความสามารถและ
สมรรถนะที่จ าเป็นส าหรับระดับปัจเจกไปสู่การเป็นสมาชิกชุมชนที่เป็นประชาธิปไตยและมี
ศักยภาพต่อไป
2) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการน ารูปแบบการท างานของโครงการปฏิบัติการ
เสริมสร้างพลังพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดไปใช้ขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมือง ทั้งในระดับ
พื้นที่สู่ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ทั้งในระดับหน่วยงานและองค์กร
ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยและชุมชนอื่น ๆ เช่น สภาพัฒนาองค์กรชุมชน สถาบันชุมชน
ท้องถิ่นพัฒนา ในระดับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองและด้านสังคม
66