Page 164 - kpiebook62016
P. 164
147
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่น่าสนใจว่า มาตรา 110 แห่งรัฐธรรมนูญตูนิเซีย ได้กล่าวถึงเรื่องของ
ศาลทหาร (Military courts) ในการมีไว้เพียงเพื่อจัดการกับการกระท าความผิดทางอาชญากรรมที่
เกี่ยวข้องกับทหาร โดยการใช้กฎหมาย องค์การ และขั้นตอนของศาลทหาร ซึ่งมีการตัดสินด้วย
393
ผู้พิพากษาที่มาจากทหารเช่นกัน ข้อก าหนดของรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ยืนยันได้ใน
ระดับหนึ่งว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของตูนิเซียพยายามสร้าง “ความเป็นมืออาชีพ” ให้กับ
ทหาร ด้วยการแยกบทบาทภาระของทหารให้อยู่นอกอาณาบริเวณทางการเมือง (นโยบายเศรษฐกิจ
และสังคม) โดยให้ทหารมีบทบาทเฉพาะการดูแลด้านความมั่นคงเท่านั้น
บทบาทของกลุ่มต่างๆ ในสังคม
การเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยของตูนิเซียมีกลุ่มต่างๆ เข้ามามีบทบาทอย่างมาก เพราะเป็น
การเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน ท าให้กลุ่มการเมืองที่เคยจัดตั้ง และขับเคลื่อนอย่างไม่เป็นทางการได้
เข้ามาแข่งขันทางการเมืองอย่างเป็นทางการมากยิ่งขึ้น ทั้งจากการเลือกตั้งและการชุมนุมเคลื่อนไหว
ทางสังคม โดยกลุ่มหลักที่มีการเผชิญหน้าท้าทายกันอย่างชัดเจนคือ “กลุ่มศาสนาอิสลาม” และ “กลุ่ม
รัฐโลกวิสัย” (Islamist vs. Secular state) แม้ว่าเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญจะได้พยายามจัดวางศาสนากับ
รัฐให้ลงตัวยิ่งขึ้น ดังปรากฏในค าปรารภของรัฐธรรมนูญซึ่งยืนยันจุดยืนนี้ ดังข้อความต่อไปนี้
“Expressing our people’s commitment to the teachings of Islam and its
aims characterized by openness and moderation, and to the human values and
the highest principles of universal human rights, and inspired by the heritage of
our civilization, accumulated over the travails of our history, from our enlightened
reformist movements that are based on the foundations of our Islamic-Arab
identity and on the gains of human civilization, and adhering to the national gains
achieved by our people,” (เน้นโดยผู้เขียน)
394
อย่างไรก็ตาม อาจจัดแบ่งกลุ่มทางสังคมที่เข้ามามีบทบาทส าคัญทางการเมืองของตูนีเซียได้
เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
393
The Tunisia’s Constitution of 2014, Article 110.
394 The Tunisia’s Constitution of 2014, Preamble.