Page 165 - kpiebook62016
P. 165

148







                              1)  กลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม บางส่วนของกลุ่มนี้มีความพยายามปรับตัวเพื่อเข้าสู่กระแส
                                 วัฒนธรรมสากล โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนดังปรากฏในค าปรารภของ

                                 รัฐธรรมนูญ แต่ความพยายามเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยดังกล่าว ได้น ามาสู่ความขัดแย้งกับ

                                 กลุ่มศาสนาแบบถือตามคัมภีร์อย่างเคร่งครัด  (Fundamentalists) ที่เคยแสดงบทบาท

                                 ส าคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาลอ านาจนิยมของประธานาธิบดีบิน อะลี (Ben Ali)
                                 และกลุ่มศาสนาเหล่านี้ได้จัดตั้งพรรคการเมือง เข้าร่วมแข่งขันเลือกตั้งด้วย เช่น พรรค

                                 Hizb ut-Tahrir ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายศาสนามุสลิม และมีนโยบายที่จะวางอุดมการณ์

                                 ของชาติให้เดินไปในแนวทางของอิสลาม

                              2)  กลุ่มโลกวิสัย กลุ่มนี้พยายามเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่อ้างอิงหลัก
                                 สากลทั้งเรื่องสิทธิ เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การพัฒนาไปได้ไกลกว่ารัฐศาสนา

                                 พรรคการเมืองที่ส าคัญในกลุ่มนี้ เช่น พรรค Ennahdha (The Renaissance) ซึ่งเป็นพรรค

                                 ที่มีอุดมการณ์แบบเสรี เน้นในเรื่องสิทธิความเท่าเทียมกันของผู้หญิง และมีการ

                                 เคลื่อนไหวต่อต้านการใส่ผ้าคลุมศรีษะของผู้หญิงมุสลิม หรือ “ฮิญาบ” เพื่อเป็นตัวแทน

                                 ของความยุติธรรมและความเป็นสมัยใหม่ และพรรค Ettakatol (Democratic Forum for
                                 Labour and Liberties) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายเสรีที่พยายามเคลื่อนไหวสร้างความ

                                 เท่าเทียมกันทางเพศ โดยการรณรงค์ต่อต้านการข่มขืนในครอบครัว (Domestic rape)

                                 เป็นต้น

                              3)  ฝ่ายซ้ายสังคมนิยม กลุ่มนี้มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวจัดตั้งพรรคการเมืองด้วยเช่นกัน
                                 เช่น พรรค The Tunisian Workers Communist (PCOT) ที่ใช้แนวคิดแบบมาร์กซิสต์-

                                 เลนินนิสต์ โดยได้น าเสนอประเด็นทางการเมืองเพื่อต่อต้านการขูดรีดทางเศรษฐกิจของ

                                 กลุ่มทุน ตรงกันข้ามกับพรรค Afek Tounes ที่เป็นพรรคฝ่ายขวาทางเศรษฐกิจ ที่พยายาม

                                 ส่งเสริมนโยบายเสรีนิยมใหม่ ทั้งการเปิดการค้าเสรี และกลไกตลาด


                              จากกลุ่มต่างๆ ข้างต้น ท าให้เห็นว่า ในตูนิเซีย มีการต่อสู้ของแนวคิดอุดมการณ์ที่หลากหลาย
                       ทับซ้อน ไม่ใช่เพียงแต่กลุ่มศาสนา-โลกวิสัย แต่รวมถึงเรื่องของเสรีนิยม-สังคมนิยม-อนุรักษ์นิยมด้วย

                       และหากมองในแง่ดีอาจเป็นแนวโน้มที่น าไปสู่การแข่งขันอย่างเป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพในการ

                       แสดงออกที่แตกต่างหลากหลาย แต่มีข้อควรระวังส าหรับการเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มเหล่านี้ ซึ่งหาก

                       ใช้ความรุนแรงและไม่มีสถาบันการเมืองมาสนับสนุน อาจน าไปสู่การล่มสลายทางการเมืองได้
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170