Page 166 - kpiebook62016
P. 166
149
ทัศนคติต่อระบอบประชาธิปไตย
ปฏิเสธไม่ได้ว่า จุดเปลี่ยนส าคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในตูนิเซียมาจากการ
ตื่นตัวของประชาชนจ านวนมากในเหตุการณ์อาหรับสปริง ที่น ามาสู่การปฏิวัติประชาชนใน ค.ศ. 2011
เพื่อโค่นล้มระบอบอ านาจนิยม ซึ่งกลุ่มชนชั้นน าที่มีบทบาทในศาสนาอิสลามได้ให้ความร่วมมือกับการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้กระทั่งได้น ามาสู่การเจรจา (Dialogue) ที่สามารถท าให้เกิดความร่วมมือและ
การประนีประนอมต่อรองระหว่างกลุ่มต่างๆ เช่น การจัดให้มี “The National Dialogue Conferences”
ในการเจรจาร่วมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้การตื่นตัวทางการเมืองและการประท้วงของประชาชนน าไปสู่
การใช้ความรุนแรงบนท้องถนนดังเช่นที่เกิดขึ้นในอียิปต์หรือซีเรีย เป็นต้น
การที่ประชาชนชาวตูนีเซียมีบทบาทส าคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ย่อมเป็นผล
395
มาจากทัศนะคติที่ยึดโยงกับคุณค่าของประชาธิปไตย จากรายงานของ Eva Bellin ได้กล่าวว่า
ประเทศตูนิเซียมีประชากรที่อยู่ในฐานของ “ชนชั้นกลาง” (Middle class) จ านวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มี
การศึกษา มีความใกล้ชิดกับระบบตลาดเสรี และความเป็นหนึ่งเดียวกันในเชิงชาติพันธุ์ ท าให้คนกลุ่ม
นี้เป็นกลไกส าคัญในการร่วมสร้างความคิดในเรื่องของประชาธิปไตยให้กับสังคม และสามารถมี
ระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยท่ามกลางความเชื่อในเรื่องของศาสนาอิสลามได้
อย่างไรก็ดี ประชาชนชาวตูนิเซีย ยังมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและการ
เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นในระยะยาว ซึ่งจ าเป็นต้องมีการขับเคลื่อนและรวบรวมพลัง
มวลชน (Mobilization) อันอาจน าไปสู่ความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงทางการเมืองขึ้นอีกได้ ดังที่
เคยเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2013 ซึ่งมีการลอบสังหารนักกิจกรรมฝ่ายซ้ายที่ไม่ฝักใฝ่ศาสนา และเกิดการข่มขู่
ทางการเมืองที่มาจากกลุ่มเครือข่ายของ League for the Defense of the Revolution
396
ด้วยเหตุนี้ หากต้องการสร้างประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่นยืนจึงจ าเป็นต้องจัดวางโครงสร้าง
สถาบันการเมืองที่มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของ
ฝ่ายตุลาการ เพื่อเป็นกรรมการในการตัดสินข้อกฎหมาย ซึ่งหากแสดงบทบาทอย่างเป็นกลางและยึด
หลักนิติธรรม จะท าให้การเมืองมีการแข่งขันภายใต้กรอบกติกา แต่หากมีการใช้ค าพิพากษาหรือค า
395
Eva Bellin, op. cit., p. 1.
396 Ibid., p. 7.