Page 170 - kpiebook62016
P. 170

153







                       ในสาธารณรัฐที่สาม ท่ามกลางความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และศาสนา ทั้งนี้ สามารถจ าแนกช่วงเวลา
                       ของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไนจีเรียได้ดังนี้


                              1)  ก่อนและหลังการประกาศเอกราชใน ค.ศ. 1960

                              2)  สาธารณะรัฐที่หนึ่งในระบบรัฐสภาระหว่าง ค.ศ. 1960-1966

                              3)  ยุคเผด็จการทหารที่รุนแรงระหว่าง ค.ศ. 1966-1979
                              4)  สาธารณรัฐที่สองในระบบประธานาธิบดีระหว่าง ค.ศ. 1979-1983

                              5)  การกลับเป็นเผด็จการทหารอีกครั้งแบบนุ่มนวลระหว่าง ค.ศ. 1984-1993

                              6)  กลับสู่ประชาธิปไตยในยุคสาธารณรัฐที่สามระหว่าง ค.ศ. 1993-1999

                              7)  การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในยุคสาธารณรัฐที่สี่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1999 เป็นต้นมา


                              ประเทศไนจีเรียได้รับเอกราชในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1960 หลังจากนั้น ได้ปกครองด้วยระบอบ

                       ประชาธิปไตยที่อ านาจของทหารยังมีอิทธิพลในทางการเมืองอยู่มาก ในช่วงได้รับเอกราชใหม่ ปัญหา
                       หลักของไนจีเรีย คือ ความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนา อันส่งผลต่อความชอบธรรมในการ

                       ปกครองของรัฐบาลใหม่ ปัญหาชาติพันธุ์และศาสนาเป็นผลตกค้างมาจากยุคของการตกเป็นอาณานิคม

                       ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ที่ใช้การแบ่งแยกและปกครอง (Divide and rule) ท าให้ปัญหาชาติ

                       พันธุ์และศาสนาไปผูกโยงกับการปกครองภายในประเทศ ที่ภาคเหนือและตะวันออก (กลุ่ม Hausa-
                       Fulani) มีอ านาจครอบง าทางการเมืองเหนือภาคใต้ (กลุ่ม Yutuba และ Igbo) ของไนจีเรีย  กล่าวคือ
                                                                                                   397

                              1)  ภาคเหนือ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอ านาจน า นับถือศาสนาอิสลามและมีการใช้กฎหมาย

                                 อิสลาม (Sharia Law) ในการปกครอง ในช่วงอาณานิคม เจ้าอาณานิคมอังกฤษได้ใช้กลุ่ม

                                 ภาคเหนือในการปกครองไนจีเรีย “ทางอ้อม” โดยยังให้อิสระกับผู้น ามุสลิมอยู่

                              2)  ภาคใต้ เช่น กลุ่ม Igbo ค่อนข้างมีการปกครองที่มีอิสระและเป็นประชาธิปไตยในชุมชน
                                 เพราะมีการปกครองแบบสภาประชาชน ที่ให้สมาชิกเพศชายในชุมชนสามารถเข้าไปร่วม

                                 ตัดสินใจทางการปกครองได้ และกลุ่ม Yoruba แม้ว่าจะมีการปกครองแบบกษัตริย์ แต่

                                 การที่อังกฤษปกครอง “ทางตรง” โดยตั้งระบบราชการของอังกฤษในภาคใต้ ท าให้ภาคใต้



                       397  Rotimi T. Suberu and Larry Diamond, “Institutional Design, Ethnic Conflict Management, and Democracy in Nigeria” in
                       Andrew Reynolds (ed.) The Architecture of Democracy, Constitutional Design, Conflict Management, and Democracy
                       (Oxford: Oxford University Press, 2002), p. 402.
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175