Page 173 - kpiebook62016
P. 173
156
ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงสู่สาธารณรัฐที่สอง นายพล Obasanjo เห็นว่ารัฐบาลในระบบ
รัฐสภาไม่เหมาะสมกับไนจีเรีย และเชื่อว่ารูปแบบการปกครองระบบประธานาธิบดีตามแบบ
สหรัฐอเมริกาจะช่วยท าให้การเมืองของไนจีเรียมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านแนวคิดเรื่องการแบ่งแยก
อ านาจ (Separation of Powers) และการตรวจสอบถ่วงดุล (Checks and Balances) รัฐธรรมนูญที่
ร่างขึ้นใหม่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสาธารณรัฐที่สอง ปูทางไปสู่การเลือกตั้งใน ค.ศ. 1979 ที่ได้นาย
Shehu Shagari มุสลิมสาย Hunsa-Fulani จากภาคเหนือ มาเป็นประธานาธิบดีคนแรกในยุคของ
สาธารณรัฐที่สอง และนายพล Obasanjo จึงเป็นผู้น าทหารคนแรกของไนจีเรียที่ส่งมอบอ านาจให้
รัฐบาลพลเรือนเข้าสู่ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ดี ในช่วง ค.ศ. 1984-1999 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ท าให้ประชาธิปไตย
ของไนจีเรียล่มสลายลงอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1984 ภายใต้การกลับมาของรัฐบาลทหาร แต่
การปกครองของรัฐบาลทหารในยุคนี้ได้เข้ามาในลักษณะที่ “นุ่มนวล” มากขึ้น หรือที่งานเรื่อง “An
Interactive Model for State-Ethnic Relations” ของ Rothchild เรียกว่า “การแลกเปลี่ยนอย่าง
ครอบครองอ านาจน า” (Hegemonic exchange) กล่าวคือ การปกครองด้วยกฎกติกาแบบทหาร แต่
ถูกท าให้เป็นสถาบัน และสร้างความสัมพันธ์ที่มีเสถียรภาพอย่างละมุนละม่อม ระหว่างรัฐบาล
ส่วนกลางและกลุ่มรัฐชาติพันธุ์ต่างๆ จึงแตกต่างจากยุคเผด็จการทหารในช่วงหลังสงครามโลกที่มี
ลักษณะการกดขี่ครอบครองด้วยอ านาจน า (Hegemonic repression) ที่เน้นการใช้ความรุนแรงในการ
399
ปกครองและการแบ่งแยกชาติพันธุ์ (Ethnic exclusion)
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส าคัญในยุคที่ทหารปกครองด้วยระบอบอ านาจนิยมแบบ
นุ่มนวล (Soft authoritarianism) มีประเด็นส าคัญที่ควรกล่าวถึงคือ ทหารยังคงแสดงบทบาทหลักทาง
การเมืองและเป็นผู้ก าหนดกติกาการเมืองผ่านการร่างรัฐธรรมนูญ จนท าให้ตูนิเชียมีรัฐธรรมนูญฉบับที่
สาม และเปลี่ยนเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐที่สามในค.ศ. 1993 นายพล Ibrahim Badamasi Babangida ได้
ทดลองเปลี่ยนผ่านอ านาจการปกครองจากทหาร ไปสู่การแข่งขันทางการเมืองของสองพรรคใหญ่ คือ
พรรค National Republican Convention (NRC) และพรรค Social Democratic Party (SDP)
399
Donald Rothchild, “An Interactive Model for State-Ethnic Relations” in Francis M. Deng and I. Wiliam Zartman (eds.)
Conflict Resolution in Africa (Washington DC: Brooking Institution, 1991).