Page 175 - kpiebook62016
P. 175
158
แม้ว่าไนจีเรียจะหวนกลับมาเดินบนเส้นทางสายประชาธิปไตยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ใน
สาธารณรัฐที่สี่ และมุ่งมั่นพัฒนาประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องภายใต้ระบบประธานาธิบดี โดยไม่มีการ
รัฐประหารออกจากประชาธิปไตยหรือหวนกลับไปเป็นเผด็จการจนถึงปัจจุบัน แต่ไนจีเรียก็ยังต้อง
401
เผชิญกับความท้าทายอีก 3 ประการ ได้แก่
1) การเมืองที่ให้อ านาจสูงสุดกับประธานาธิบดี ท าให้ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนไหวรณรงค์
เลือกตั้งประธานาธิบดีมีต้นทุนทางการเมืองสูงมาก ซึ่งน ามาสู่ปัญหาธุรกิจการเมืองการ
คอรัปชั่นที่เป็นลักษณะร่วมของประเทศประชาธิปไตยเริ่มตั้งไข่
2) ความอ่อนแอของสถาบันการเมืองด้านนิติบัญญัติ และพรรคการเมือง รวมถึงสถาบัน
การเมืองที่ท าหน้าที่รับผิดชอบต่อสาธารณะ ท าให้การตรวจสอบทั้งจากแนวดิ่งและแนว
ระนาบไม่สามารถท าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อ านาจของรัฐส่วนกลางทั้งหมดไป
อยู่ในมือของรัฐบาล เกิดการกระจุกตัวของอ านาจ
3) ระบบประธานาธิบดีอาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์บรรเทาลงได้
อย่างที่คาดหวังไว้ เพราะการเข้ามามีอ านาจรัฐของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ย่อมท าให้เกิดความ
สงสัย ไม่ไว้วางใจจากชาติพันธุ์กลุ่มตรงข้าม อันน ามาสู่ความไม่ไว้วางใจรัฐบาลกลาง และ
เนื่องจากความอ่อนแอของกลไกตรวจสอบ อาจน าไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์จาก
ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
ประวัติศาสตร์ที่กล่าวมาโดยกระชับ ฉายภาพรวมของเงื่อนปมที่เป็นอุปสรรคส าคัญในการ
เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย แม้ไนจีเรียจะได้สร้างประชาธิปไตยที่ลงหลักปักฐานในระดับ
หนึ่ง เห็นได้ชัดจากการไม่มีรัฐประหารและกลับไปใช้ระบอบเผด็จการเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี ตั้งแต่
ค.ศ. 1993 แต่ไม่ได้หมายความว่าไนจีเรีย ได้ก้าวข้ามระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่
มั่นคง เนื่องจากการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นภารกิจที่ไม่มีจุดจบ และทุกประเทศแม้เป็นประชาธิปไตย
ที่ตั้งมั่นแล้ว ก็ยังคงเผชิญกับความท้าทายและต้องปกป้องไม่ให้หลักการประชาธิปไตยถูกเบี่ยงเบน
หรือลดทอนลง
401 Rotimi T. Suberu and Larry Diamond, op. cit., p. 412.