Page 176 - kpiebook62016
P. 176

159







                       การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ

                              ด้วยเหตุที่ไนจีเรียเป็นประเทศขนาดใหญ่ ที่มีประชากรกว่า 160 ล้านคน ประกอบไปด้วยกลุ่ม

                       ชาติพันธุ์ที่หลากหลายซึ่งกระจายไปตามภูมิภาค ความแตกต่างหลากหลายในเรื่องของที่มาทาง

                       อ านาจ วัฒนธรรม อุดมการณ์ และประวัติศาสตร์ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การสร้างรัฐสมัยใหม่ที่มี

                       เส้นเขตแดนและขอบเขตอ านาจอธิปไตยในการปกครองที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นความท้าทายที่ส าคัญ
                       ที่สุดของการเมืองไนจีเรีย โดยเฉพาะในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญให้ทุกชาติพันธุ์สามารถอยู่ร่วมกัน

                                                   402
                       ภายใต้กฎหมายหลักเดียวกันได้  นวัตกรรมส าคัญทางการเมืองคือรัฐธรรมนูญไนจีเรีย ฉบับ ค.ศ.
                       1999 จึงเป็นเอกสารที่ควรค่าแก่การศึกษายิ่งนัก


                              การปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่ส าคัญของไนจีเรีย คือการคิดค้นรูปแบบของสถาบันการเมืองที่
                       สอดคล้องกับความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์และศาสนา ท าให้ไนจีเรียมีการร่างรัฐธรรมนูญ

                       ออกแบบระบบรัฐให้เป็นสหพันธรัฐ (Federal system) เพื่อให้อิสระกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ทั้ง

                       ในระดับชาติ รัฐ และท้องถิ่น แต่ยังคงรักษาสถานภาพของความเป็นประเทศไนจีเรียเอาไว้ และการ

                                                                                                   403
                       ออกแบบรัฐธรรมนูญอยู่ภายใต้กรอบของการแบ่งสรรอ านาจ (Power-Sharing) ระหว่างกัน

                              การปฏิรูปรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1999 ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านส าคัญของไนจีเรีย โดยมีกฤษฎีกา
                       การเปลี่ยนผ่านอ านาจสู่พลเรือน ค.ศ. 1998 (the Transition to Civil Rule [Political Programme]

                                    404
                       Decree 1998)  เป็นจุดเริ่มต้น น ามาสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ.1999 ที่เนื้อหาในรัฐธรรมนูญ
                       กล่าวถึงกติกาในการแข่งขันทางการเมืองด้วยวิถีทางที่เป็นประชาธิปไตย ก าหนดให้การเข้าสู่ต าแหน่ง

                       ทางการเมืองต้องมาด้วยการเลือกตั้ง โดยใช้ระบบการเมืองแบบประธานาธิบดี ใช้หลักสหพันธรัฐเป็น
                       รูปแบบของรัฐ เน้นหลักการแบ่งแยกอ านาจ การถ่วงดุลอ านาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และ

                       ตุลาการ มีการจัดการเลือกตั้งผ่านคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งอิสระแห่งชาติ (the Independent




                       402  Victoria O. Ojo and Okezi Uwede-Meshack, Rethinking the Nigerian Constitution: The Way Forward [online], January 27,

                       2017, Available from http://dullahomarinstitute.org.za/constitution-making-in-africa-conference/constitution-building-in-
                       africa-conference-papers/Victoria%20Ojo%20and%20Okezi%20Uwede-Meshack%20-
                       %20RETHINKING%20THE%20NIGERIAN%20CONSTITUTION%20THE%20WAY%20FORWARD.pdf/view.
                       403  Arend Lijphart, “The Wave of Power-Sharing Democracy”   in Andrew Reynolds (ed.) The Architecture of Democracy:
                       Constitutional Design, Conflict Management, and Democracy (Oxford: Oxford University Press, 2002), pp. 37-54.
                       404  Victoria O. Ojo and Okezi Uwede-Meshack, op. cit.
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181