Page 178 - kpiebook62016
P. 178
161
2. รูปแบบรัฐบาลและความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ:
ระบบประธานาธิบดีและรูปแบบสภาคู่
ในยุคสาธารณะรัฐที่หนึ่งของไนจีเรียที่มีการใช้ระบบการเมืองแบบรัฐสภา ได้น าการจัดรูปแบบ
สถาบันการเมืองตามแบบอย่างของอังกฤษมาใช้ เช่น การใช้ระบบสภาคู่ (Bicameralism) ที่มีทั้งสภา
ผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสภาขุนนาง (the British House of Lords) ของ
อังกฤษ แต่ยุคปัจจุบัน ไนจีเรียได้เปลี่ยนรูปแบบการจัดการปกครองโดยใช้ระบบประธานาธิบดี และ
เป็นสหพันธรัฐ ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
406
1) รูปแบบสหพันธรัฐที่เหมาะสมกับสภาพของความแตกต่างหลากหลายทางสังคม และมี
รากฐานมาจากการปกครองแบบอาณานิคม
2) การมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ท าให้การจัดสรรอ านาจของรัฐบาล และสิทธิ
เสรีภาพของประชาชนได้รับความคุ้มครองที่ชัดเจน อ้างอิงได้
3) การมีศาลสูง (Supreme Court) ที่มีอ านาจวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ
กฎหมายและการใช้อ านาจบริหารของรัฐบาล เพื่อท าหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารไม่ให้ลุ
แก่อ านาจ
ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการของไนจีเรีย มีลักษณะที่คล้ายคลึง
กับระบบการเมืองแบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยอ านาจนิติบัญญัติอยู่ในการ
ดูแลของสภาแห่งชาติ (National Assembly) ที่เป็นระบบสภาคู่ (Bicameralism) ประกอบด้วยสภา
ผู้แทนราษฎรจ านวน 360 คน มาจากการเลือกตั้งโดยใช้เสียงข้างมากธรรมดา เขตละ 1 คน วาระใน
การด ารงต าแหน่ง 4 และวุฒิสภา จ านวน 109 คน มาจากการเลือกตั้งตัวแทนจากมลรัฐๆ ละ 3 คน
จ านวน 36 มลรัฐ และอีก 1 คนจากเมืองหลวง คือ เมือง Abuja
อ านาจสูงสุดในการบริหารประเทศเป็นของประธานาธิบดีที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ ประมุขแห่ง
รัฐบาล และเป็นจอมทัพแห่งไนจีเรีย โดยก าหนดให้มาจากการเลือกตั้ง มีวาระในการด ารงต าแหน่ง 4 ปี
และอยู่ในต าแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ โดยประธานาธิบดีเป็นผู้เลือกรัฐมนตรีมาเป็นรัฐบาล
แต่ต้องค านึงถึงความเป็นตัวแทนของประชาชนทั้ง 36 มลรัฐ เพราะในการบริหารประเทศของไนจีเรีย
406 Paul J.Kaiser, op. cit., p. 14.