Page 221 - kpiebook62016
P. 221
204
มัสยิดแห่งที่สองขึ้นในกรุงวอร์ซอ และการเคลื่อนไหวต่อต้านการปฏิรูปกฎหมายเพื่อต้อนรับผู้อพยพ
เข้ามาในโปแลนด์ เนื่องจากกลุ่มเคลื่อนไหวเห็นว่าโปแลนด์เป็นเพียงประเทศทางผ่าน แต่ต้องแบก
รับภาระของผู้อพยพที่จะเดินทางเข้าไปในเยอรมันและสหภาพยุโรป รวมไปถึงกระแสการประท้ วง
ต่อต้านมาตรการหลายประการที่ออกโดยสหภาพยุโรป
บทบาทของกองทัพ
กองทัพโปแลนด์ (Wojsko Polskie, WP) มีบทบาทอย่างมากในการถ่วงดุลอ านาจกับฝั่งยุโรป
ตะวันออก เพราะโปแลนด์เป็นสมาชิก NATO กองทัพโปแลนด์เคยมีปฏิบัติการนอกประเทศ คือ การ
เข้าไปช่วยเหลือ NATO ในการบุกอัฟกานิสถาน ท าให้กองทัพโปแลนด์เป็นเสมือนฐานที่มั่นของ
ประเทศตะวันตกและสหรัฐอเมริกา ในการถ่วงดุลอ านาจกับรัสเซียที่พยายามแผ่อิทธิพลเข้ามาในยุโรป
ตะวันออก ผ่านการเคลื่อนไหวในยูเครน ส่งผลให้โปแลนด์ต้องเพิ่มขนาดของกองทัพให้ใหญ่ขึ้น เพื่อ
รับมือกับภัยคุกคามจากรัสเซีย เช่น กรณีแย่งชิงคาบสมุทรไครเมียของยูเครน และกรณีกลุ่มแบ่งแยก
ดินแดนในยูเครนตะวันออก เป็นต้น
ส าหรับการเมืองภายในประเทศ แม้ประเด็นในเรื่องความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศจะ
กลายเป็นนโยบายหลักในการหาเสียงเพื่อเข้าสู่อ านาจทางการเมืองของรัฐบาล แต่บทบาทของกองทัพ
ยังจ ากัดตัวเองอยู่ภายใต้กรอบเรื่องของการดูแลความมั่นคงของชาติ (National security) จากภัย
คุกคามภายนอก มากกว่าที่จะเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในประเทศ น ามาสู่ข้อสรุปเบื้องต้นว่าบทบาท
ของทหารโปแลนด์ มีขอบเขตอยู่ที่การเมืองระหว่างประเทศ มากกว่าที่จะเป็นการเมืองภายในประเทศ
การจัดต าแหน่งแห่งที่ให้แก่กองทัพ
บทบาทของกองทัพโปแลนด์ถูกจัดวางไว้ให้อยู่นอกอาณาบริเวณทางการเมืองภายใน อัน
เนื่องมาจากทหารโปแลนด์มีความส าคัญในการท าหน้าที่เป็นปราการสุดท้ายในการรับมือกับอิทธิพล
จากต่างประเทศอย่างยิ่งยวด ทั้งจากฝั่งตะวันตก ได้แก่ สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา และทาง
ตะวันออก คือ รัสเซีย และมาตรา 82 (2) แห่งรัฐธรรมนูญโปแลนด์กล่าวถึงบทบาทของทหารว่าจะ
475
ด าเนินกิจกรรมใดๆ ได้นั้น ต้องได้รับการก าหนด “เป็นการเฉพาะ” ผ่านตัวบทกฎหมาย
475 The Constitution of the Republic of Poland, 2 April, 1997, Article 82.
nd