Page 226 - kpiebook62016
P. 226

209







                                                              บทที่ 7

                                                 เปรียบเทียบ 8 เส้นทางสู่ประชาธิปไตย
                                                      และแง่คิดจากการเปลี่ยนผ่าน


                              ปรากฏการณ์ “คลื่นลูกที่สามของประชาธิปไตย” (the Third Wave of Democracy) ดังที่เรา

                       ได้เห็นเป็นประจักษ์ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มากมายในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นระลอกคลื่น

                       ที่ม้วนตัวสู่ฝั่งอย่างสงบเงียบ สวยงาม หากแต่เป็นคลื่นที่ซัดฝั่งด้วยแรงปะทะที่หนักบ้าง เบาบ้าง

                       แตกต่างกันไป การศึกษานี้ได้น าเสนอความหมาย แนวคิด ทฤษฎีประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่าน
                       ไปสู่ประชาธิปไตย ทั้งในมิติที่เป็นทฤษฎีเชิงปทัสถาน (Normative  theories) และในด้านที่เป็น

                       ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ (Empirical  evidences)  รวมถึงได้น าเสนอแนวคิดด้านกลับของระบอบ

                       ประชาธิปไตย นั่นคือ การออกจากระบอบประชาธิปไตย (De-democratization) หรือการเปลี่ยนผ่านที่

                       ถดถอยย้อนกลับไปสู่ระบอบอ านาจนิยมและระบอบลูกผสม (Hybrid regimes)


                              ในเชิงทฤษฎี งานวิจัยได้พยายามตอบค าถามว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่

                       ประชาธิปไตยส าเร็จสมบูรณ์แล้ว อะไรคือประชาธิปไตยที่มั่นคง/ยั่งยืน (Democratic  consolidation)
                       การเปลี่ยนผ่านแท้จริงแล้วเป็นกระบวนการที่มีการสิ้นสุด หรือเป็นกระบวนการที่สั่งสมต่อเนื่องไป

                       เรื่อยๆ ไม่มีจุดจบ โดยงานวิจัยเสนอว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย แท้จริงก็คือ การเปลี่ยนการ

                       ถือครองอ านาจและปฎิบัติการทางการเมืองให้กระจายไปอยู่ในมือประชาชนให้กว้างขวางที่สุด และ
                       เมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านแล้ว จะถือว่าการเปลี่ยนผ่านนั้นส าเร็จก็ต่อเมื่อจะไม่ออกจากประชาธิปไตย

                       และย้อนกลับไปสู่เส้นทางเดิมที่ปกครองด้วยระบอบอ านาจนิยมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในแง่นี้ การ

                       เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย เป็นภาระกิจที่ไม่อาจนับว่าเสร็จสิ้นและจบลงในทันทีทันใด หากแต่การ

                       เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ต้องสืบสาน ถักทออย่างต่อเนื่อง เพื่อจรรโลง

                       ประชาธิปไตยให้ยั่งยืนต่อไป


                              เมื่อเปรียบเทียบการจัดล าดับประชาธิปไตย (Democracy ranking) โดยใช้เกณฑ์การวัด 2มิติ
                       คือ มิติการเมือง (Political   dimension) ร้อยละ 50 และมิติที่ไม่เป็นการเมือง (Non-political

                       dimensions) อีกร้อยละ 50 ซึ่งมิติที่ไม่เป็นการเมืองประกอบด้วยตัวแปร 5 ประการ ได้แก่ 1) ความ

                       เสมอภาคและโอกาสของเพศสภาพ  2) เศรษฐกิจ 3) ระดับความรู้ 4) สุขภาวะ และ 5) คุณภาพของ

                       สิ่งแวดล้อม พบว่าประเทศที่เลือกมาศึกษาในการวิจัย  มีการเปลี่ยนแปลงในระดับความเป็น
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231