Page 58 - kpiebook62016
P. 58

41







                       การออกแบบสถาบันการเมือง

                              1. ระบบเลือกตั้ง


                              หนึ่งในข้อเรียกร้องของขบวนการประชาธิปไตยเกาหลีใต้คือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบ

                       เลือกตั้งประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งทางอ้อมผ่านคณะผู้เลือกตั้งที่ต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล
                                                90
                       ซึ่งง่ายต่อการสืบทอดอ านาจ  เป็นการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการ
                       ตอบสนองในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1987 ที่นอกจากจะได้ก าหนดให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง

                                                                                                            91
                       โดยตรงแล้ว ยังได้ก าหนดให้ประธานาธิบดีสามารถด ารงต าแหน่งได้เพียง 1 วาระ ซึ่งมีระยะเวลา 5 ปี
                       โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีใช้ระบบเสียงข้างมากธรรมดา และผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสามารถลง
                       สมัครได้ทั้งในนามพรรคการเมืองและในนามผู้สมัครอิสระ ในกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี

                       เพียงผู้เดียว บุคคลนั้นจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจ านวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
                                                                                                      92

                              นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1987 ยังได้เปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ

                       (National  Assembly) ซึ่งท าหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติใหม่ จากเดิมที่รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1980

                       ก าหนดให้การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติซึ่งมีจ านวนทั้งหมด 276 คน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
                       เลือกตั้งโดยตรงจากเขตเลือกตั้ง 92 เขต ที่มีสมาชิกเขตละ 2 คน ส่วนสมาชิกอีก 92 คน จะได้รับการ

                       จัดสรรตามสัดส่วนของที่นั่งที่แต่ละพรรคได้รับ โดยพรรคที่มีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติมากที่สุดจากการ

                       เลือกตั้งระบบเขต จะได้รับจัดสรรที่นั่งเพิ่มอีกจ านวน 2 ใน 3 ที่นั่งที่เหลือจะถูกจัดสรรตามคะแนนที่

                                93
                       พรรคได้รับ  ซึ่งระบบนี้เอื้อประโยชน์ให้แก่พรรครัฐบาล เช่น ในการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติใน
                       ค.ศ.1985 พรรครัฐบาลได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด มีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่ได้รับเลือกตั้งระบบเขตคิด
                       เป็นร้อยละ 46 ของสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งระบบเขตทั้งหมด ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 35.4

                       ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การได้รับจัดสรรที่นั่งเพิ่มเติมเช่นนี้ส่งผลให้พรรครัฐบาลมีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ

                       ถึงร้อยละ 54 ของสมาชิกทั้งหมด ท าให้สามารถครองเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติ แต่ภายใต้

                       บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1987 ก าหนดให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติมีจ านวนเพิ่มขึ้นเป็น 299 คน




                       90  Dae-Kyu Yoon, op. cit., p. 19.
                       91  Ibid., p. 26.
                       92
                         Constitution of the Republic of Korea, Article 67.
                       93  Hong Nack Kim, "The 1988 Parliamentary Election in South Korea," Asian Survey vol. 29, no. 5 (May 1989): 481 – 482.
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63