Page 62 - kpiebook62016
P. 62

45






                                                                                110
                       ความชอบด้วยกฎหมายของค าสั่ง กฎ และการกระท าทางปกครอง  ยิ่งไปกว่านี้ ศาลรัฐธรรมนูญยัง
                       ท าหน้าที่วินิจฉัยขั้นสุดท้ายในกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสมัชชาแห่งชาติ

                                                                          111
                       และการยุบพรรคการเมือง ที่ริเริ่มโดยฝ่ ายนิติบัญญัติ  นัยยะของการใช้อ านาจดังกล่าว
                       เปรียบเสมือนศาลรัฐธรรมนูญท าหน้าที่ก ากับ ควบคุม อ านาจนิติบัญญัติของสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งมา

                       จากเสียงข้างมากของประชาชน บทบาทการคัดง้างเสียงข้างมากของศาลรัฐธรรมนูญถูกทดสอบเมื่อ
                       พรรคฝ่ายค้านซึ่งคุมเสียงมากกว่า 2 ใน 3 ของสมัชชาชาแห่งชาติมีมติถอดถอนประธานาธิบดีโรห์ มู-ฮยุน

                       (Roh Moo-hyun) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 ด้วยข้อหาท าผิดกฎหมายเลือกตั้ง ทุจริต และละเลยใน

                       การปฏิบัติหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยกฟ้องมติถอดถอนของสมัชชาแห่งชาติ โดยวินิจฉัยว่า แม้ว่า

                       จะมีการละเมิดกฎหมายจริง แต่การกระท านั้นไม่เพียงพอต่อการถอดถอน ท าให้มติดังกล่าวตกไป
                       พร้อมกับก่อให้เกิดกระแสต่อต้านพรรคฝ่ายค้านอย่างรุนแรง ส่งผลให้พรรครัฐบาลได้กลับมาเป็นเสียง

                                                                       112
                       ข้างมากในสมัชชาแห่งชาติ ด้วยที่นั่งในสภาที่เพิ่มมากขึ้น

                              นอกจากศาลรัฐธรรมนูญจะใช้อ านาจคัดง้างเสียงข้างมากคุ้มครองประธานาธิบดีโรห์ มู-ฮยุน

                       จากการถอดถอนโดยสมัชชาแห่งชาติแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังได้ยุติร่างรัฐบัญญัติย้ายเมืองหลวงจาก

                       กรุงโซล ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่ประธานาธิบดีโรห์ มู-ฮยุน เสนอในการหาเสียงจนได้รับชัยชนะในการ

                       เลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ ค.ศ. 2003  และเป็นนโยบายที่พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านสามารถ
                       บรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้รับค าร้องของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติส่วนน้อยที่ไม่

                       เห็นด้วย และมีมติให้ร่างรัฐบัญญัติดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ด้วยการวินิจฉัยว่า กรุงโซล

                       (Seoul) มีสถานะเป็นเมืองหลวงตามจารีต ดังนั้น รัฐบัญญัติฉบับนี้จึงมีสถานะทางกฎหมายเทียบเท่า
                       กับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ การประกาศย้ายเมืองหลวงจึงต้องท าผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้อง

                       ผ่านการท าประชามติ การย้ายเมืองหลวงด้วยการออกเป็นรัฐบัญญัติจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งใน

                       ด้านของวิธีการ และเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนในการท าประชามติ นับเป็นบทบาทคัดง้างเสียง











                       110  Constitution of the Republic of Korea, Article 107.
                       111
                         Constitution of the Republic of Korea, Article 111.
                       112  Dae-Kyu Yoon, op. cit., pp. 162 – 163.
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67