Page 61 - kpiebook62016
P. 61
44
105
สามารถด ารงต าแหน่งได้มากกว่า 1 วาระ การพ้นจากต าแหน่งของผู้พิพากษาที่ยังคงอยู่ในวาระจะ
106
เกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อสมัชชาแห่งชาติมีมติถอดถอนเท่านั้น
นอกเหนือจากศาลฎีกาแล้ว รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1987 ยังก าหนดให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ
ขึ้น โดยมีหน้าที่ส าคัญ คือ พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามค าร้องขอของศาลยุติธรรมอื่นๆ ถอด
ถอนเจ้าหน้าที่รัฐ ยุบพรรค วินิจฉัยความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานราชการ ทั้งนี้ คณะตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญจ านวน 9 คน มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยเป็นการเสนอชื่อจากสมัชชาแห่งชาติ
3 คน และเป็นการเสนอชื่อจากประธานศาลฎีกา 3 คน และแต่งตั้งจากบุคคลที่ประธานาธิบดี
107
เห็นสมควร 3 คน ทั้งนี้ รายชื่อทั้งหมดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมัชชาแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1987 ก าหนดขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการที่น่าสนใจ คือ สมัชชาแห่งชาติมีอ านาจในการ
ถอดถอนประธานาธิบดี ผู้พิพากษา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในข้อหาละเมิดรัฐธรรมนูญ หรือละเมิด
กฎหมายในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ หากสมาชิกจ านวน 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด เสนอญัตติถอดถอน
และมีเสียงเห็นชอบถึงครึ่งหนึ่งของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีถอดถอน
ประธานาธิบดีที่ต้องใช้เสียงจากสมาชิกครึ่งหนึ่งในการเสนอญัตติและมีเสียงเห็นชอบของสมาชิก
108
สมัชชาแห่งชาติ 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสมัชชาแห่งชาติจะมีมติให้ถอดถอน
แล้ว กระบวนการดังกล่าวยังไม่ถือว่ามีผลบังคับใช้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติจากตุลาการจ านวน
109
6 คนหรือมากกว่ารับรองว่ากระบวนการถอดถอนชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3. กลไกคัดง้างเสียงข้างมาก
ส่วนหนึ่งในอ านาจตรวจสอบถ่วงดุลของฝ่ายตุลาการตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1987 คืออ านาจใน
การทบทวนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและการกระท าทางปกครอง ส่งผลให้องค์กรทาง
ตุลาการท าหน้าที่เป็นกลไกคัดง้างเสียงข้างมาก โดยรัฐธรรมนูญได้ให้อ านาจศาลฎีกาในการพิจารณา
105 Constitution of the Republic of Korea, Article 105.
106 Constitution of the Republic of Korea, Article 106.
107 Constitution of the Republic of Korea, Article 111.
108
Constitution of the Republic of Korea, Article 65.
109 Constitution of the Republic of Korea, Article 113.