Page 82 - kpiebook62016
P. 82
65
185
เลือกตั้ง ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่มีอ านาจในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
จากความสามารถในการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติดังกล่าว ส่งผลให้ประธานาธิบดีซูฮาร์โตได้รับเลือกตั้ง
จากสมัชชาที่ปรึกษาประชาชนกว่า 7 ครั้ง ตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปี
แต่สถานการณ์กลับต้องพลิกผันใน ค.ศ. 1997 เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ขึ้นในเอเชีย แม้
รัฐบาลจะพยายามเข้าแทรกแซงด้วยการสั่งปิดธนาคารที่ล้มละลาย แต่ความแตกตื่นในภาคธุรกิจก็ยังคง
ด าเนินต่อไปและน าไปสู่การประท้วงทั่วประเทศ ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจที่ถาโถม ประธานาธิบดีซูฮาร์โต
กลับประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 7 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1998 สร้างความไม่
พอใจให้กับสังคมที่เห็นว่ารัฐบาลประสบความล้มเหลวในการจัดการกับวิกฤติเศรษฐกิจ และแม้การ
ประท้วงยังคงด าเนินไป สมัชชาที่ปรึกษาประชาชนมีมติเลือกให้ประธานาธิบดีซูฮาร์โตด ารงต าแหน่ง
อีกครั้ง ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1998 ส่งผลให้การต่อต้านทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น น ามาสู่การจลาจลตาม
หัวเมืองใหญ่ รวมถึงกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศ เมื่อต ารวจยิงใส่ผู้ประท้วงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต
186
6 คน การจลาจลก็ยิ่งรุนแรงขึ้น กระทั่งในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ประธานาธิบดีซูฮาร์โตได้
ประกาศลาออกจากต าแหน่งและส่งมอบต าแหน่งประธานาธิบดีให้กับรองประธานาธิบดี บี.เจ. ฮาบิบี
(B.J. Habibie) เป็นการปิดฉากการด ารงต าแหน่งที่ยาวนานกว่า 30 ปี
ประธานาธิบดีฮาบิบี น าอินโดนีเซียเข้าสู่ช่วงเวลาของการปฏิรูปการเมือง (reformasi) โดย
รัฐบาลได้รับการสนับสนุนที่ส าคัญจากพลเอกวิรันโต (Wiranto) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ที่ให้ค ามั่นว่า
187
กองทัพจะเคารพรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งยังให้การสนับสนุนการปฏิรูปเพื่อลดบทบาททางการเมืองของ
กองทัพ โดยประธานาธิบดีฮาบิบีประสบความส าเร็จในการผลักดันให้สมัชชาที่ปรึกษาประชาชน
ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งทั่วไปให้เร็วขึ้นจากก าหนดการเดิมใน ค.ศ. 2002 มาเป็น ค.ศ. 1999 รวมทั้ง
ให้เสรีในการจัดตั้งพรรคการเมืองด้วยการยกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองเดิมที่ก าหนดให้มีพรรค
การเมืองเพียง 3 พรรค นอกจากนี้ สมัชชาที่ปรึกษาประชาชนได้ลดจ านวนสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งลง
188
และออกกฎหมายปราบปรามการทุจริต ซึ่งครอบคลุมถึงอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต
185 Denny Indrayana, op. cit., p. 88.
186 Amy L. Freedman, ‚Consolidation or Withering Away of Democracy? Political Changes in Thailand and Indonesia,‛
Asian Affairs vol. 33, no.4 (Winter, 2007): 203-204.
187
Yong Cheol Kim, R. William Liddle, and Salim Said, op. cit., p. 258.
188 Harold Crouch, Political Reform in Indonesia after Soeharto, op. cit., pp. 25 – 26.